Find Other Sides of Thai Politic. Update you on the political turmoil in Thailand.

อ่าน ทวิตเตอร์

Upcoming

Thursday, May 14, 2009

อัปยศ!แผนหั่น237 'ศักดิ์'ปูดใบสั่งยุบพรรค/มาร์คขวางเหนือเหนาะฮั้วเพื่อแม้ว


อัปยศ!แผนหั่น237 'ศักดิ์'ปูดใบสั่งยุบพรรค/มาร์คขวางเหนือเหนาะฮั้วเพื่อแม้ว | ไทยโพสต์
ปรองดองอัปยศ! อดีตตุลาการอุ้มซุกหุ้นปูดใบสั่งยุบพรรค จุดประเด็นขัดแย้งรอบใหม่ "ศักดิ์ เตชาชาญ" อ้างก่อนมีคำวินิจฉัยตุลาการศาล รธน.เสียงส่วนใหญ่เห็นตรงกันลงโทษแค่หัวหน้าพรรค เหน็บใครทำตามใบสั่งได้เป็นใหญ่เป็นโตกันหมด ประชุมอนุกรรมการฯ 3 ชุดไม่เห็นแสงรำไรปลายอุโมงค์ ส่อชำเรา รธน.เพื่อตัวเอง หั่น ม.237 หนียุบพรรค เปลี่ยนระบบเลือกตั้ง รัฐบาลดาหน้าถล่ม "เหนาะ" วนในอ่าง

การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในชาติเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม เริ่มต้นอย่างคึกคักที่รัฐสภา มีการประชุมคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 คณะ

เริ่มต้นด้วย อนุคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ที่วางกรอบการทำงานเพียง 2 สัปดาห์ ก่อนการประชุม นายเจริญ ภักดีวานิช ส.ว.พัทลุง อนุกรรมการฯ ได้กล่าวกับนายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ว่า อนุกรรมการฯ เห็นว่าแนวทางของนายเสนาะ เทียนทอง ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ หลายแนวทางที่เสนอ สามารถทำให้ประเทศชาติสมานฉันท์ได้ แต่สื่อมวลชนนำไปลงข่าวให้เป็นด้านลบ

จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่วาระการประชุม โดยเริ่มต้นจากการคัดเลือกตำแหน่งอนุกรรมการฯ ซึ่งที่ประชุมได้มีการคัดเลือกแบบอะลุ่มอล่วย ใช้เวลาประมาณ 5 นาที และได้นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน, นายภาวิช ทองโรจน์ นายกสภาเภสัชกรรม ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธาน, นางผุสดี ตามไท ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขานุการ

ต่อมานายตวงทำหน้าที่ประธาน และเปิดโอกาสให้อนุกรรมการฯ นำเสนอปัญหาความขัดแย้งในบ้านเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาเดิมๆ คือ ปัญหารัฐธรรมนูญ 40 และ 50 ที่มีทั้งข้อดีและมีปัญหามาก แต่ส่วนใหญ่ก็เห็นพ้องว่าสาเหตุหลักเป็นผู้ใช้รัฐธรรมนูญ และการใช้กฎหมาย 2 มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรค ดังนั้นทางออกคือหาหนทางไปสู่การยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ให้เร็วที่สุด

โดยนายเจริญกล่าวว่า ต้นตอของความขัดแย้งเริ่มตั้งแต่การแก้กฎหมายโทรคมนาคม เพื่อขายหุ้นโทรคมนาคมให้เทมาเส็ก การประกาศยุบสภาของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณปี 2549 จนกระทั่งมาถึงการรัฐประหารและปิดทำเนียบฯ ปิดสนามบิน

นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี กล่าวว่า ปัญหาเกิดจากการบริหารของ พ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การแทรกแซงองค์กรอิสระ ส.ว. รวมทั้งการใช้อำนาจเพื่อองค์กรของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น การประกาศว่าจะพัฒนาจังหวัดที่เลือกพรรคไทยรักไทย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุผลมาสู่ความขัดแย้งในปัจจุบัน

แต่นายประเกียรติแย้งว่า ปัญหาคือการรัฐประหารปี 2549 ทำให้เกิดรัฐธรรมนูญ 50 ที่ทำให้เกิดตุลาการภิวัตน์ และตามมาด้วยเรื่อง 2 มาตรฐาน โดยมีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ที่นำมาซึ่งการยุบพรรคและตัดสิทธิ์ทางการเมือง ทำให้มวลชนที่สนับสนุนคนกลุ่มนี้เกิดความไม่พอใจ ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญ หากแก้เรื่องพวกนี้จะสามารถแก้ปัญหาได้

เขาบอกว่า การผ่อนคลายความขัดแย้งระยะสั้นเร่งด่วน คือ การแก้ไขผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 220 คน ที่ไม่ได้รับจากรัฐธรรมนูญ 50 ซึ่งจะต้องออกกฎหมายช่วยเหลือ และไม่สามารถทำประชามติตัดสิน เพราะกรรมการบริหาร 220 คนถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงต้องแก้ไขด้วยการออกกฎหมาย จึงอยากให้ที่ประชุมเห็นด้วยหรือไม่

เพื่อไทยอารมณ์ค้างซัดศาล

ด้านนายสันติ พร้อมพัฒน์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สาเหตุของความขัดแย้งของสังคมอีกประการคือ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งมีการพิจารณาคดีแค่ศาลเดียวเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งจะมั่นใจได้อย่างไรว่าทั้ง 9 คนที่ทำงาน 9 ปี จะไม่เป็นพรรคพวกใคร และจะไม่มีใครส่งมา ซึ่งถือว่าเป็นจุดอันตราย เพราะคนที่มาดำรงตำแหน่งนี้ต้องบริสุทธิ์ เราต้องยอมรับว่ามุนษย์เป็นกลุ่มมีพรรคมีพวกมาก่อน โดยตนเห็นว่าควรจะให้กำหนดอายุการทำงานให้สั้นที่สุดเท่าที่เขาจะทำงานได้

นอกจากนี้ ควรคืนความเป็นธรรมไม่เพียงแต่ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 220 คน แต่ต้องเยียวยาให้แก่คนทุกกลุ่มคนทุกสี รวมทั้งข้าราชการต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาจากอีกฝ่ายจะต้องได้รับความเป็นยุติธรรมด้วย เพราะส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ

ขณะที่นางผุสดีกล่าวว่า เรื่องนิรโทษกรรมในวงอนุกรรมการฯ ไม่ควรเป็นผู้ตัดสินผิดหรือถูก เพราะเป็นนักการเมืองด้วยกัน ดังนั้นการจะให้ความเป็นธรรมผู้ที่ได้ผลกระทบ ควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย

ทั้งนี้ นายตวงได้รับปากนายประเกียรติว่าจะนำเสนอเรื่องการนิรโทษกรรม 220 คนเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบให้นำคนภายนอกมาเสนอความคิดเห็น อาทิ กลุ่มนักวิชาการ เพื่อรวบรวมประเด็นให้แหลมคมขึ้น

ในที่ประชุมยังมีการเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าการยุบพรรคการเมืองมีใบสั่ง ซึ่งเป็นข้อมูลของนายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมากในการตัดสินคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากพรรคภูมิใจไทย ได้ระบุว่า ประเด็นที่ยังไม่ได้พูดกันคือใบสั่ง ตนเคยเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ตอนมีคำสั่งยุบพรรค ขอกราบเรียนเบื้องหลัง ได้ถามเพื่อนฝูงทุกคนแล้วเห็นว่าไม่ควรยุบพรรค ควรแค่ลงโทษหัวหน้าพรรค เลขาธิการ และผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น (ลับ ลวง พราง??? - TDMZ)

"แต่พอจะเขียนคำวินิจฉัย ปรากฏว่ามีใบสั่ง ซึ่งไม่ทราบว่าจริงหรือไม่จริง แต่ว่ามีใบสั่งมา มันสร้างความสับสนให้ผู้พิพากษาทั้งหมดที่จะเอาด้วยกับผม แต่ภายหลังเปลี่ยนใจไม่เอาแล้ว คำวินิจฉัยจึงออกมาน่าเกลียดมาก รวมทั้งเรื่องโมฆะการเลือกตั้งและองค์กรอิสระต่างก็เป็นใบสั่ง และผลก็ออกมาอย่างที่เขาคาดการณ์ทุกเรื่องร้อยเปอร์เซ็นต์"

เขาอ้างว่า ไม่ยอมทำตามใบสั่งจึงไม่เจริญถึงทุกวันนี้ หลายคนที่ทำตามใบสั่งก็เจริญรุ่งเรืองเป็นใหญ่เป็นโตในขณะนี้ ดังนั้นเราต้องหาวิธีพิสูจน์ว่าใบสั่งมีจริงหรือไม่ ถ้ามีต่อไปนี้ต้องเลิกเด็ดขาด

นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช อดีตผู้ว่าฯ ผู้ทรงคุณวุฒิจาก ส.ว. โต้ทันทีว่า ได้ยินเรื่องใบสั่งก็หนักใจ แต่อยากถามว่ามีหลักฐานหรือไม่ ไม่น่าจะเป็นไปได้ คำพิพากษาปกติละเอียดมาก แต่ละคนที่นั่งตรงนั้นเป็นผู้มีเกียรติ มีความรู้ มีฐานะทางสังคม ใครจะออกใบสั่งได้ อย่างเก่งออกได้ 1-2 คน แต่ส่วนใหญ่ออกพร้อมกันทั้งคณะเป็นเรื่องยาก

เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังนายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้พิจารณาคดียุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย ได้รับคำตอบว่า ที่นายศักดิ์พูด ไม่เป็นความจริง อย่างตนถามว่ามีใครจะมาสั่งได้ ตลอดชีวิตทำงานตั้งแต่เป็นผู้พิพากษา ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา และเป็นอิสระ หน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตรงนี้เข้ามาก็เพื่อทำให้บ้านเมือง ถือเป็นบั้นปลายชีวิตแล้ว ต้องทำให้ดีที่สุดในชีวิต ไม่ควรนำเรื่องไม่จริงมาพูดให้เสียหาย

"มาบอกว่ามีใบสั่ง ถามว่าใครกล้าสั่ง ขนาดคนมีเงินเป็นแสนล้านยังไม่กล้ามาสั่ง แล้วถามว่าใครจะมาเขียนใบสั่ง อยากให้ไปหาคนสั่งมาให้ดูหน่อย ไปควานหามาได้เลย หลายคนทำงานมาตลอดชีวิตกว่าจะมาถึงจุดนี้ ส่วนที่คุณศักดิ์พูดจาพาดพิง แม้ไม่บอกว่าเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดไหน เรื่องการฟ้องร้องนั้นคงต้องไปถามนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญดูว่าท่านจะว่าอย่างไร"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรื่องคดียุบพรรคนั้น พบว่าในการสั่งยุบพรรคคดีที่ตกเป็นที่สนใจของประชาชนมีด้วยกันทั้งสิ้น 4 พรรคคือ ไทยรักไทย พลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย แต่พบว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนายศักดิ์ เตชาชาญ ที่มีนายผัน จันทรปาน เป็นรักษาการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้พิจารณาลงมติและเขียนคำวินิจฉัยคดียุบพรรคทั้งสี่พรรคแต่อย่างใด มีแต่การลงมติให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ เพราะหลัง คมช.ทำปฏิวัติ 19 ก.ย. 49 คดียุบพรรคไทยรักไทยและประชาธิปัตย์ก็เป็นการพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญชุดที่มีนายปัญญา ถนอมรอด อดีตประธานศาลฎีกาเป็นประธาน

โดยตุลาการรัฐธรรมนูญชุดดังกล่าวมีมติให้ยุบไทยรักไทยแต่ไม่ยุบประชาธิปัตย์ จากนั้นก็เป็นการพิจารณาคดียุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาฯ ของตุลาการศาล รธน.ชุดปัจจุบัน ที่มีนายชัช ชลวร เป็นประธาน จึงพบว่านายศักดิ์ไม่ได้พิจารณาคดียุบพรรค เพียงแต่ช่วงก่อนจะมีการปฏิวัติ 19 ก.ย. 49 สำนวนคดียุบพรรคไทยรักไทยและประชาธิปัตย์ทางอัยการสูงสุดได้ส่งสำนวนไปให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนายศักดิ์แล้ว และคดีอยู่ระหว่างการเตรียมพิจารณาในชั้นศาลหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้อง แต่ปรากฏว่าเกิดการปฏิวัติเสียก่อน แล้ว คมช.มีประกาศให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนายศักดิ์พ้นสภาพการเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งคณะ สำนวนจึงถูกต่อไปให้ตุลาการรัฐธรรมนูญต่อไป

อีกห้องประชุมหนึ่งในรัฐสภา มีการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเมือง และแต่งตั้งตำแหน่งในอนุกรรมการฯ โดยที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา เป็นประธาน, นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร เป็นรองประธาน และนายอนุสรณ์ ธรรมใจ เป็นเลขานุการ

จากนั้นประธานในที่ประชุมได้ให้โอกาสอนุกรรมการฯ แต่ละคนแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางการปฏิรูปการเมือง ซึ่งเสียงอนุกรรมการฯ เกือบทั้งหมดสมควรให้มีการปฏิรูปคน วัฒนธรรมทางการเมือง การศึกษา รวมถึงบทบาทในภาคส่วนต่างๆ อย่างเช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ กระบวนยุติธรรม ตลอดจนองค์กรอิสระ อย่างไรก็ตาม ในส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อนุกรรมการฯ ได้มีความเห็นแย้งเป็น 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

ปชป.เซ็งฤดูกาลแก้ รธน.

โดยนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเล็ก เราไม่เคยตกผลึกในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำเหมือนเทศกาลงานวัด ฝังลูกนิมิต มีปัญหาทีหนึ่งก็ถกเถียงกันทีหนึ่ง วัฒนธรรมการเมืองของคนไทยก็เป็นอย่างนี้ และมั่นใจว่าอีก 4 ถึง 5 ปีข้างหน้าก็จะมีการถกเถียงการแก้รัฐธรรมนูญอีก มุมมองประชาธิปไตยของคนไทยไม่เหมือนกัน คนหนึ่งมองอย่าง อีกคนมองอย่าง ก็เลยมาฆ่ากัน ดังนั้นหลักใหญ่ของตนคือการปฏิรูปคน เราลองปรับตัวเข้าหารัฐธรรมนูญกันบ้างดีไหม เพราะคนมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และเช่นนั้นแล้วก็มีการแก้รัฐธรรมนูญตลอดเวลา

ส่วนนายอนุสรณ์ ธรรมใจ ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เบื้องต้นเราต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อเปิดประตูสู่การปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะมาตรา 291 ที่ทำให้เกิด ส.ส.ร. 3 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ส่วนตัวเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตราที่ไม่เป็นธรรม แต่จะต้องไม่มีผลย้อนหลัง เช่น การยุบพรรคและอยากเสนอให้ตั้งสภาปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ โดยอาจเป็นการดำเนินการภายหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า

สำหรับการประชุมคณะที่ 3 คือ อนุกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม ที่ประชุมมีมติเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ดังนี้ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา เป็นประธาน, นายถวิล ไพรสณฑ์ ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองประธานคนที่ 1 และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ เป็นรองประธานคนที่ 2, นายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิ จากพรรคเพื่อไทย เป็นเลขานุการ และนายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

จากนั้น นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย เสนอว่า ควรนำข้อมูลจาก 2 ส่วนมาประกอบการพิจารณา คือ 1.บทสรุปความเห็นของแต่ละพรรคการเมืองเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการเสนอมาก่อนหน้านี้ และ 2.คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มีนายกระมล ทองธรรมชาติ เป็นประธาน เนื่องจากคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ศึกษาปัญหาไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นขอเสนอให้นำข้อมูลทั้งสองส่วนมาเป็นตุ๊กตาในการศึกษาด้วย

นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อนุกรรมการฯ จากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในสื่อมวลชนต่างๆ กล่าวว่าการเยียวยาอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งกลุ่ม 111 และ 109 คนทำเพื่อคนใดคนหนึ่งหรือไม่ และจะเป็นต้นตอปัญหาความขัดแย้งในอนาคตต่อไปหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ยากต่อการปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม ตนไม่อยากให้มีการเขียนบทนิรโทษกรรมไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกัน ดังนั้นจึงไม่อยากให้มีการพูดถึงมาตรา 237 มาตรา 309 มาตราใดมาตราหนึ่ง ทั้งนี้ ขณะนี้ตนอยากเห็นประเด็นของพรรคประชาธิปัตย์มากที่สุด เพราะยังเหลือเพียงพรรคการเมืองเดียวที่ยังไม่เสนอความเห็นมายังคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งหากคณะอนุกรรมการฯ ได้เห็นความเห็นครบทุกพรรคการเมืองแล้ว จะทำให้ง่ายต่อการทำงาน

นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ อนุกรรมการฯ จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า มีประเด็นที่คณะอนุกรรมการฯ จะต้องศึกษาหาข้อสรุปให้ได้ 3 ประเด็นใหญ่ คือ 1.ปัญหาความไม่เป็นธรรมที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งมีหลายเรื่องไม่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2.ความขัดแย้งมาจากปัญหามาจากระบบการเมืองและสถาบันทางการเมืองหรือไม่ ถ้าใช่จะทำอย่างไร 3.ผลการศึกษาของ กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญมีอะไรบ้าง เพราะหากไม่แก้ไขเสียทีเดียวก็จะเป็นปัญหาต่อการบริหารงานในอนาคต และ 3.ข้อเสนอของฝ่ายต่างๆ ที่คณะอนุฯ จะต้องเปิดโอกาสให้มีการรับฟังข้อเสนอจากฝ่ายต่างๆ ให้กว้างขวางมากที่สุด

"เจิม"ชี้ปี 48 เริ่มต้นขัดแย้ง

ขณะที่นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อนุกรรมการฯ จากประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นว่า ความขัดแย้งของสังคมไม่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี 2550 เพราะความขัดแย้งของสังคมเกิดขึ้นในปี 2548 ดังนั้นถ้าไม่ใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ความขัดแย้งก็เกิดขึ้นอยู่ดี และความขัดแย้งครั้งใหม่จะเกิดขึ้นเพราะมีคนจะแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้นขอให้คณะอนุฯ คิดให้ดีว่าอะไรคือสาเหตุแห่งความขัดแย้ง

"ผมไม่อยากเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นไปเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง และอยากให้เราระมัดระวังการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะยิ่งทำให้เกิดวิกฤติหนักขึ้นถ้าทำไม่ดี" อนุกรรมการฯ ผู้นี้กล่าว

จากนั้นมีการโต้เถียงในมาตราต่างๆ ที่ถูกระบุว่าเป็นตัวปัญหา โดยเฉพาะมาตรา 237 โดยนายอรรคพล สรสุชาติ ตัวแทนจากพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า มาตรานี้ใช้ในการยุบพรรคชาติไทย ทั้งที่ไม่มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่าคณะกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิด แต่เมื่อรัฐธรรมนูญเขียนอย่างนี้ ไม่มีทางเลือกอื่น จึงทำให้ต้องยุบพรรคการเมืองในที่สุด

ด้านนายเจิมศักดิ์ได้ตอบโต้ว่า ในช่วงที่กำลังร่างรัฐธรรมนูญ 2550 นั้นก็ไม่มีนักการเมืองท้วงติงมาตรานี้ ส่วนการยุบพรรคนั้นได้มีอยู่แล้วในรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพียงแค่เติมเหตุแห่งการยุบพรรคอีกหนึ่งเหตุเท่านั้น

แต่นายอรรคพลแย้งว่า เรื่องการยุบพรรคนั้นควรจะมีเหตุอันควร ไม่ใช่ว่าใครทำผิดคนเดียวแล้วมีโทษถึงยุบพรรค ในส่วนของประเด็นการแก้ไขที่พรรคชาติไทยพัฒนาเสนอนั้น จะเห็นได้ว่ามาตรา 237 ก็ยังคงอยู่ เพียงแต่ให้ตัดวรรคสองออกไปเท่านั้น

ต่อมานายศุภชัยเสนอว่า อย่าเพิ่งลงในรายมาตรา ควรพูดเรื่องกรอบก่อนว่าจะเริ่มจากจุดไหน ให้เอาประเด็นที่พรรคการเมืองมอบมาให้นั้น ให้ฝ่ายเลขาฯ สรุปเป็นประเด็นว่าแต่ละพรรคมีประเด็นใดบ้างที่เสนอตรงกัน รวมทั้งนำผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ที่มีการศึกษาไว้แล้วมาดูด้วยว่าประเด็นใดบ้างที่มีผลต่อการบังคับใช้ คณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาแก้ไขอยู่แล้ว จึงอย่ามาโต้แย้งว่าจะแก้หรือไม่แก้กันในตอนนี้

แต่นายเจิมศักดิ์ทักท้วงว่า หากเราพิจารณาตามที่พรรคการเมืองเสนอ คณะอนุกรรมการฯ ของเราก็จะกลายเป็นคณะที่แก้รัฐธรรมนูญตามที่พรรคการเมืองเสนอทันที ตนเห็นด้วยว่ารัฐธรรมนูญแก้ได้ เพราะตนก็มี 30 กว่ามาตราที่อยากจะแก้ แต่เตือนเพื่อให้ระวังว่าอาจจะถูกโจมตีว่าเราไม่ต่างอะไรจากที่พรรคการเมืองเสนอมา

นายสุรชัยกล่าวเสริมขึ้นว่า ขอให้เปิดอกคุยกัน อย่าซ่อนเร้น เพื่อให้เกิดความกระจ่าง เช่นมาตรา 237 นั้น ก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าทำผิดเพียงคนเดียวแล้วจะยุบพรรค มีการบอกไว้ชัดเจนว่ามีหลายองค์ประกอบ เช่น หัวหน้าพรรคมีส่วนรู้เห็นการกระทำความผิดนั้น หรือหัวหน้าพรรครู้แต่ไม่ตักเตือน เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ไม่มีการสื่อสารออกมาให้กับสังคมได้รับรู้ หรืออาจจะเป็นเพราะระบบการตรวจสอบที่ไม่เข้มแข็งหรือไม่ จึงอยากให้มองด้วยว่า หรือเป็นเพราะระบบตรวจสอบในอดีตไม่ทำงานหรือไม่ เพราะหลายมาตรา รัฐธรรมนูญเนื้อหาเดียวกัน เพียงแต่อยู่คนละฉบับเท่านั้น กลับกลายเป็นว่ามีปัญหาขึ้นมาได้

พล.อ.เลิศรัตน์จึงชี้แจงว่า อะไรที่เรามีก็ควรจะทำไปก่อน เพราะเวลาเรามีจำกัด ดังนั้นอะไรที่ทำได้เราก็ควรจะทำไปก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าเรามีลิมิตว่าจะทำเพียงแค่นี้เท่านั้น ที่ตนดูแล้วเห็นว่ามีผลต่อการทำงานคือเรื่องที่มาของ ส.ส. ซึ่งการที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาก่อนนั้นก็ไม่ใช่การใช้อำนาจอะไร แต่เพราะทุกพรรคมีข้อมูลเรื่องนี้ของตัวเองอยู่แล้ว จึงพยายามเลือกเรื่องที่ทุกพรรคเสนอมาตรงกันก่อน นี่คือเรื่องเร่งด่วนที่สุด เพราะไม่รู้ว่าจะมีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อไหร่ ซึ่งจะทำให้การประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ในวันอังคารหน้า เราจะได้มีข้อมูลไปพูดในที่ประชุมได้ทันที

รื้อระบบเลือกตั้ง


ต่อมาที่ประชุมได้หารือกันต่อในประเด็นการเลือกตั้ง ส.ส.ตามที่พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคเพื่อไทยเสนอ โดยตัวแทนทั้ง 3 พรรคเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ควรที่จะมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้การเลือกตั้งเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวน 400 คน ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 แทนการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ เพราะเขตใหญ่จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีเงิน มีอำนาจ และมีระบบหัวคะแนนสามารถเข้ามาเป็น ส.ส.ได้มากกว่าผู้สมัครที่เป็นคนดี มีความรู้ ส่วน ส.ส.แบบสัดส่วนนั้นควรที่จะปรับให้เป็นแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คนตามเดิม

ขณะที่ตัวแทนจากพรรครวมใจไทยชาติพัฒนาและพรรคประชาธิปัตย์เห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้คงเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนตามเดิมของรัฐธรรมนูญ 2550 ไว้ โดยนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ อนุกรรมการฯ ซึ่งเป็น ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ให้เหตุผลว่า เนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่จะทำให้การซื้อเสียงสามารถทำได้ยากขึ้น และทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้สมัครที่มีความรู้แต่ไม่มีเงิน ส่วนเขตเล็กนั้น หากใครมีอิทธิพลสามารถยึดพื้นที่ตรงนั้น ไม่ว่าคนคนนั้นจะทำดีทำชั่วก็จะได้รับเลือกอยู่ตลอด ทั้งนี้ การเสนอความคิดเห็นครั้งนี้ไม่ได้เป็นมติของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นความเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ที่ผ่านมา

ถูกนายศุภชัยตำหนิว่า นายกฯ บอกให้ทุกพรรคสรุปประเด็น แต่พรรคประชาธิปัตย์เองกลับมีแต่ความเห็นส่วนตัวของตัวแทน ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ควรจะกลับไปคุยถึงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ก่อน ไม่ใช่ตัวแทนพรรคบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัว แล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็มาบอกทีหลังว่าไม่ใช่ความเห็นของพรรค อยากขอให้ถอดหัวโขน ถอดหน้ากากออกก่อน เพื่อแสดงความจริงใจต่อกัน

นายนิพนธ์ได้ชี้แจงว่า เรื่องรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะมายึกยักกัน ตนไม่มองประโยชน์ของใครหรือของพรรคไหนทั้งสิ้น เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดอนาคตของประเทศ ซึ่งไม่ใช่ว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นเล่ห์เล่นเหลี่ยมอะไร แต่พรรคให้ตัวแทนใช้สิทธิ์ได้อย่างเปิดเผยและเต็มที่

หลังการถกเถียงนานกว่า 4 ชั่วโมงครึ่ง ที่ประชุมจึงได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม เวลา 09.30 น. โดยจะเป็นการพิจารณาในมาตรา 68 และมาตรา 237 ว่าด้วยยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง

พล.อ.เลิศรัตน์แถลงภายหลังการประชุมว่า คณะอนุกรรมการฯ จะดูประเด็นหลักที่จะนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งที่ประชุมมีองค์ประกอบครบ ทั้งนักวิชาการซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ร.2550 ส.ว. และ ส.ส.อย่างครบถ้วน โดยแนวทางการทำงานนั้น จะดูว่ามีประเด็นใดบ้างที่ควรมีการแก้ไข จากนั้นจึงมาดูอีกทีว่าเรื่องใดสำคัญก็จะพิจารณาก่อน

เขากล่าวว่า การพิจารณามาตรา 68 และมาตรา 237 เรื่องเหล่านี้เมื่อมีมติของอนุฯ ออกไปแล้วก็จะถูกเผยแพร่สู่ประชาชน และเมื่อมีผลตอบรับจากประชาชนกลับมา คณะอนุฯ ก็จะทำเป็นข้อสังเกตและข้อคิดเห็นเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ต่อไป โดยบางเรื่องอาจจะต้องมีการทำประชามติ เพราะประชามติเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ยืนยันว่าคณะอนุฯ ยินดีเปิดรับทุกภาค ส่วนที่จะเสนอความคิดเห็นเข้ามา ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่นักการเมืองมาฮั้วกันเพื่อแก้กติกาให้นักการเมืองด้วยกันเอง

มท.3 ระบุยุบพรรคมีทุกประเทศ

ด้านนายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย กล่าวว่า เกี่ยวกับ ม.237 นั้น ทางพรรคยังไม่มีมติเรื่องนี้ แต่ขอให้เข้าใจว่า มาตรการการยุบพรรคการเมืองมีทุกประเทศ เพียงแต่ว่าแต่ละประเทศเขาจะกำหนดประเด็นเอาไว้หรือเรื่องใดไว้ที่จะนำไปสู่การยุบพรรค แต่ที่สำคัญที่สุด กระบวนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ล่าช้าอยู่ เพราะเกิดจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ถ้าพรรคการเมืองใดซื้อสิทธิ์ขายเสียง ก็ถือว่าไม่ได้ทำหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยอย่างโปร่งใส ดังนั้นต้องมีมาตรฐาน แต่จะยุบพรรคด้วยเหตุคนคนเดียวที่เป็นกรรมการบริหารพรรค หรือยุบพรรคด้วยเหตุความรู้เห็นเป็นใจของกรรมการบริหารพรรคทุกคนก็อยู่ที่รายละเอียด แต่ตนยืนยันว่าการยุบพรรคการเมืองเป็นมาตรการที่มีทุกประเทศ แต่ความเข้มข้นไม่เหมือนกัน

สำหรับข้อเสนอของนายเสนาะที่ให้ตั้งรัฐบาลเพื่อชาติ โดยให้ 2 พรรคใหญ่คือ ประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยจับมือแล้ว มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้ระยะเวลา 1 ปีนั้น ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล

นายอภิสิทธิ์ให้ความเห็นว่า ไม่น่าจะเป็นประเด็นที่เป็นคำตอบ เพราะไม่ใช่เรื่องของหลักการที่พูดถึงว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหาหรือกระบวนการยุติธรรมมีปัญหา จะกลายเป็นถูกมองว่าเป็นเรื่องของทุกพรรคจะมาแบ่งปันผลประโยชน์กันมากกว่า ถ้าไปสรุปอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าช่วงที่เป็นฝ่ายค้านก็เคยมีข้อเสนออย่างนี้ ตนก็เห็นว่ามันไม่ใช่คำตอบ

ซักว่า มองเจตนาของนายเสนาะอย่างไร นายกฯ ตอบว่า เป็นความเห็นของท่าน และท่านก็เคยเสนออะไรคล้ายๆ อย่างนี้อยู่หลายครั้ง

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า "ข้อเสนอของคุณเสนาะ ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นลักษณะของการเปิดประเด็นขึ้นมาเพื่อนำไปสู่ข้อถกเถียงในคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ส่วนในทางการเมืองจะเป็นจริงหรือไม่นั้น มันมีปัจจัยประกอบอย่างอื่นอีกเยอะ แต่ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมทุกพรรคยังบริหารได้ แม้ว่าจะไม่ราบรื่นนัก ก็ต้องยอมรับว่ายังมีปัญหาอยู่ และสิ่งที่คุณเสนาะพูดขึ้นมานั้น ผมไม่อยากตั้งข้อสังเกตว่าพูดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เพราะเหมือนกับว่าถ้าไม่จับมือกันแล้วรัฐบาลจะเดินทางไปพื้นที่ใดก็จะมีปัญหาอยู่ร่ำไป และพูดเหมือนคุณเสนาะรู้ว่าใครเป็นคนทำ จึงทำให้เข้าใจไปได้ว่าเป็นการสร้างประเด็นที่เป็นแรงกดดันทางการเมือง แต่ผมไม่คิดว่าแรงกดดันนี้จะมีผลต่อการทำงานของรัฐบาลในขณะนี้"

นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย กล่าวว่า ถ้าทั้งสองพรรคสามารถจับมือกันได้ก็ถือเป็นสิทธิ์ เพราะเป็นเรื่องที่บังคับกันไม่ได้ ส่วนถ้าทำได้จริงๆ พรรคภูมิใจไทยก็ต้องเป็นฝ่ายค้าน

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่า แนวคิดของนายเสนาะคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีประเทศเสรีใดในโลกที่ดำเนินการ ยกเว้นการเป็นเพียงประเทศที่มีการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์

"ยังไม่มีประเทศเสรีใดในโลกที่มีรัฐบาลแห่งชาติ นอกจากประเทศคอมมิวนิสต์ แม้จะมีการพูดกันตลอด แต่ยังไม่เกิดขึ้น เป็นเรื่องนอกทฤษฎี เป็นเรื่องใหม่ในโลกนี้" นายชาญชัยกล่าว.

Convicted Thaksin holds Montenegro passport

The Nation: Politics
Nationmultimedia.com
His passport number is I38kd3695, the source said.

According to his Montenegro passport, Thaksin who has been running away from a two-year jail term in Thailand, arrived in Monrovia, capital of Liberia on April 20 and departed it on April 23.

Earlier reports confirmed that he is also holding a Nicaraguan passport as he is appointed as "special ambassador" by Nicaragua's President Daniel Ortega.

Thai government has revoked all his passports, including diplomatic and ordinary passports, after he became fugitive.

ทักษิณถือพาสพอร์ทของประเทศมองเทเนโกร หมายเลข I38kd3695

ทักษิณเดินทางถึงกรุงมอนโรเวีย เมืองหลวงของประเทศไลบีเรียเมื่อวันที่ 20 เมษายน และเดินทางออกเมื่อวันที่ 23 เมษายน

รายงานก่อนหน้ายืนยันว่า ทักษิณยังถือพาสพอร์ทของนิคารากัวอีกด้วย สืบเนื่องมาจากได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีออร์เทก้าให้เป็นฑูตพิเศษ

รัฐบาลไทยได้ยกเลิกพาสพอร์ทไทยทุกฉบับแล้วหลังจากทักษิณหลบหนีโทษจำคุก

เอ็นจีโอฝรั่งค้าน"มอนเตเนโกร"ให้พาสปอร์ต"แม้ว"-วอนเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่นโลกส่งข้อมูลให้


หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
เอ็นจีโอฝรั่งค้าน"มอนเตเนโกร"ให้พาสปอร์ต"แม้ว"-วอนเครือข่ายต้านคอร์รัปชั่นโลกส่งข้อมูลให้

"ทักษิณ"ยังป่วนนอกประเทศ เอ็นจีโอค้านรัฐบาลมอนเตเนโกรให้พาสปอร์ต ซัดอาจทำให้อียูไม่ให้เข้าร่วมวีซ่าเสรี จี้มท.เปิดเผยข้อมูล ขอเครือข่ายองค์การต้านคอร์รัปชั่นทั่วโลกช่วยส่งข้อมูลหนีคดีในไทย-ตร.สากล ล่าตัว
ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคมถึงกรณีที่มีข่าวว่า รัฐบาลสาธารณรัฐมอนเตเนโกร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรปได้ออกหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต(หมายเลข I38kd3695) ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยว่า มีความเคลื่อนไหวขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอของมอนเตเนโกรไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลสาธารณรัฐมอนเตเนโกรที่ให้พาสปอร์ตแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะอาจทำให้สหภาพยุโรปไม่อนุมัติให้มอนเตเนโกรเข้าร่วมการให้วีซ่าหรือตรวจลงตราเสรีในการเข้าอียูเนื่องจากการให้พาสปอร์ตแก่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นไปโดยไม่โปร่งใส

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางนางวานยา คาลโลวิช (Vanja Calovic) ผู้อำนวยการบริหาร เครือข่ายพันธมิตรองค์กรพัฒนาเอกชน (Network for Affirmation of the Non-governmental Sector หรือ MANS) ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ(Transparency International ) ได้ทำหนังสือถึงเครือข่ายขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย

หนังสือของผู้อำนวยการบริหารของ MANSระบุว่า ได้รู้จากรายงานข่าวของสื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้รับพาสปอร์ตของสาธารณัฐมอนเตเนโกรและรัฐมนตรีมหาดไทยของมอนเตเนโกรไม่ได้ยืนยันหรือปฏิเสธเรื่องดังกล่าว แต่บอกเพียงว่า ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้

อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีช่วยมหาดไทยกล่าวว่า หมายเลขพาสปอร์ตที่มีการตีพิมพ์ในสื่อนั้นแสดงให้เห็นว่า เป็นพาสปอร์ตของมอนเตเนโกร ขณะที่เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐมนตรีมหาดไทยเองมีการประกาศชื่อของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของมอนเตเนโกรต่อสาธารณะ แต่นับตั้งแต่นั้นมา ทางกระทรวงมหาดไทยพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการตอบคำถามของสื่อในเรื่องดังกล่าว

หนังสือของผู้อำนวยการบริหารMANS สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตามกฏหมายของมอนเตเนโกรบังคับให้หน่วยงานต่างๆต้องเปิดเผยแม้กระทั่งข้อมูลที่เป็นความลับในกรณีที่เอกสารเหล่านั้นมีข้อบ่งชี้ว่า มีการละเมิดกฏหมายหรือมีความผิดทางอาญา ดังนั้น ทาง MANS จึงยื่นคำร้องไปยังกระทรวงมหาดไทยให้เปิดเผยข้อมูลว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้รับสถานะพลเมืองมอนเตเนโกรหรือไม่ และใครเป็นผู้ตัดสินใจ เนื่องจากเป็นที่ชัดเจนว่า คุณสมบัติของ พ.ต.ท.ทักษิณไม่เข้ากับเกณฑ์การให้สัญชาติตามกฏหมายสิทธิความเป็นพลเมืองของมอนเตเนโกร ซึ่งเรายังคงรอคำตอบอยู่

นอกจากนี้ MANS ยังจัดงานแถลงข่าวเพื่อชี้ให้กระทรวงมหาดไทยเห็นถึงความสำคัญในการเร่งเปิดเผยข้อมูลและสอบสวนเรื่องดังกล่าวในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแบบเสรีของสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งอียูกำลังจะตัดสินใจว่า จะให้มีการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแบบเสรีกับทางมอนเตเนโกรหรือไม่ในเร็วๆนี้ และคุณสมบัติที่เป็นกุญแจสำคัญจากข้อแนะนำที่ได้รับจากคณะกรรมาธิการยุโรปมีทั้งความปลอดภัยและความโปร่งใสตรงไปตรงมาของระบบในการออกเอกสารทางการและความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฏหมายของประเทศอื่นๆ ในกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ สามารถเรียกความสนใจได้เป็นอย่างมากจากวงการการทูตในมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับรัฐบาลด้วย

หนังสือของ MANS ต้องการความช่วยเหลือจากเครือข่ายฯเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นทางการในบางประเด็น ดังนี้

-ข้อมูลสั้นๆของพ.ต.ท.ทักษิณที่ทำให้ สามารถเข้าใจกรณีนี้ได้ดีขึ้น เช่น เราพบจากข่าวบนอินเตอร์เน็ตว่า ทางการไทยได้ขอความช่วยเหลือจากตำรวจสากลในการจับกุมตัวเขา แต่เราไม่พบข้อมูลอะไรเลยบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของตำรวจสากล นอกจากนี้เรายังเข้าใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกตัดสินให้จำคุก 2 ปีจากข้อหาคอร์รัปชั่น แต่จะดีมากหากมีข้อมูลอย่างเป็นทางการว่าว่า เกิดอะไรขึ้นเช่นเดียวกับกระบวนการอื่นๆที่กำลังดำเนินการอยู่

-รู้หรือไม่ว่ามีหน่วยงานของทางการไทยที่ติดต่อกับรัฐบาลของมอนเตนิโกรเพื่อขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมในกรณีนี้หรือไม่ หรือคิดว่าควรจะมีการดำเนินการอย่างนั้นรึเปล่า

มอนเตเนโกรกับวีซ่าเสรีเข้าอียู

Ethnic map of the Republic of Montenegro accor...Image via Wikipedia


หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ : หนังสือพิมพ์คุณภาพ เพื่อคุณภาพของประเทศ
มอนเตเนโกรกับวีซ่าเสรีเข้าอียู

มอนเตเนโกร เป็นประเทศเล็กๆ แต่เก่าแก่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เริ่มต้นความเป็นรัฐตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ก่อนที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวียในเวลาต่อมา และเพิ่งประกาศตัวเป็นอิสระเมื่อปี 2549 ตามประชามติของประชาชนทั้งประเทศก่อนหน้านั้น

มอนเตเนโกรกลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 192 ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในปีเดียวกัน ต่อมาในปี 2550 ได้เป็นสมาชิกลำดับที่ 47 ของสมัชชาแห่งยุโรป

เมืองหลวงของมอนเตเนโกร ชื่อ พ็อดโกริก้า เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเช่นเดียวกัน เนื้อที่ทั้งประเทศมีเพียง 13,812 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 678,177 คนเท่านั้น มอนเตเนโกรปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดี ฟิลิป วูยาโนวิช เป็นผู้นำประเทศ

ระบบเศรษฐกิจเป็นระบบเศรษฐกิจการตลาด มีอุตสาหกรรมบริการเป็นหลัก คือกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีของประเทศ ที่เหลือเป็น อุตสาหกรรมการผลิต (อะลูมิเนียมและเหล็ก), อุตสาหกรรมการเกษตร (แปรรูปสินค้าเกษตร) และการท่องเที่ยว เมืองท่องเที่ยวสำคัญคือ "บุดวา" เมืองชายทะเล เอเดรียติก

Perast - MontenegroImage by milachich via Flickr


เพราะต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นอุตสาหกรรมสำคัญในอนาคตของประเทศ มอนเตเนโกรจึงตั้งเป้าขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ "เชงเก้น แอเรีย" หรือพื้นที่ในภาคพื้นยุโรปที่สามารถเดินทางผ่านแดนได้โดยไม่ต้องประทับตราวีซ่า ซึ่งจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวจากนอกพื้นที่สามารถขอวีซ่าเพียงครั้งเดียวแต่สามารถเดินทางไปได้ทุกประเทศใน "เชงเก้น แอเรีย" หรือ "เชงเก้น โซน" ของยุโรป วีซ่าดังกล่าวเรียกกันทั่วไปว่า "เชงเก้น วีซ่า"

"เชงเก้น แอเรีย" เกิดขึ้นจากความตกลงที่เรียกว่า "ความตกลง เชงเก้น" (มี 2 ฉบับลงนามในปี 1985 และ 1990) ซึ่งจัดทำแยกต่างหากจากความตกลงสหภาพยุโรป ดังนั้น แม้สมาชิกส่วนใหญ่ของ เชงเก้น แอเรีย จะเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่มีหลายประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

"เชงเก้น แอเรีย" เดิมประกอบด้วย 15 ประเทศ คือ เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส เยอรมนี ออสเตรีย สวีเดน และสเปน

ปัจจุบัน เชงเก้น แอเรีย สามารถขยายได้ด้วยการลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมากในรัฐสภายุโรป ซึ่งมอนเตเนโกรกำลังพยายามดำเนินการอยู่ในเวลานี้

นอกเหนือจากนั้น มอนเตเนโกรยังยื่นสมัครขอเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไว้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งมีกระบวนการหลายขั้นตอนและกินเวลาโดยเฉลี่ยราว 10 ปี

Reblog this post [with Zemanta]

Label Cloud