Image via Wikipedia
คมชัดลึก :สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ กำลังเดินเข้าสู่จุดล่อแหลมเป็นอย่างยิ่ง
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ภายใต้แรงขับเคลื่อนจากพรรคเพื่อไทย ได้ระดมชาวบ้านนับหมื่นคนเข้าเมืองหลวง
เป้าหมายเพื่อเผด็จศึก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พร้อมทั้งกดดันให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลาออกหรือยุบสภา
เกมนี้จึงมีเดิมพันสูงยิ่งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับประมุขแห่งบ้านสี่เสาเทเวศร์
ฝ่ายใดพลาดพลั้ง นั่นย่อมถึงความพ่ายแพ้
ศึกหนนี้จึงเชื่อกันว่า จะเล่นกันทั้งบนดินและใต้ดิน ในที่ลับและที่โล่งแจ้ง ร่วมถึงมือที่สอง มือที่สาม ที่อาจเข้ามาก่อเหตุจุดชนวน "สงครามกลางเมือง"
แม้ที่ผ่านมาเกมในสภาจะตกเป็นรอง แต่หลายฝ่ายยังเชื่อว่ายุทธศาสตร์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วางไว้อาจมี "แผนแตกหัก" ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หากมวลชนคนเสื้อแดงไม่อาจทนกดดันอยู่ได้เกิน 3 วัน จนทำให้แผนการ รวมถึงเงินที่ทุ่มลงไปสูญเปล่า
มีเหตุการณ์ที่ต้องถือว่าเกี่ยวเนื่องกับการเมือง จากความพยายามลอบสังหาร นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม พ.ต.เทียนชัย เมืองจันทึก หรืออ๊อด อายุ 45 ปี พร้อมพวกทั้งหมดให้การรับสารภาพ และยังมีแผนวางเพลิงธนาคารอีก 10 แห่ง เพื่อสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่แผนทั้งหมดเกิดรั่วจากทีมสังหารเสียก่อน
ยังจับสัญญาณอันตรายบางอย่างจากครอบครัว "ชินวัตร" ซึ่งส่อเค้าว่า "ศึกล้มองคมนตรี" คราวนี้จะถึงจุดแตกหัก โดยเฉพาะการเดินทางออกจากประเทศไทยเป็นการด่วนของ คุณหญิงพจมาน พร้อมครอบครัว รวมทั้งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ เมื่อคืนวันที่ 7 เมษายน ก่อนการชุมนุมใหญ่เพียงไม่กี่ชั่วโมง
สัญญาณต่างๆ เหล่านี้ดูเหมือนรัฐบาลเองก็กังวลและมองเกมนี้ออกเช่นกัน
การประเมินสถานการณ์จากฝ่ายความมั่นคงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ โดยมีทหาร ตำรวจ สภาความมั่นคง วิเคราะห์ตรงกันว่า หากสถานการณ์ไปถึงจุดนั้นจริง ต้องสกัดตัวจุดชนวนให้ได้ ทั้งมือที่หนึ่ง มือที่สอง มือที่สาม ที่ว่ากันว่าจะมีทั้งการใช้ระเบิด ลุกลามถึงขั้นเผาสถานที่ราชการเลยทีเดียว
พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ที่ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ต้องออกคำสั่งเน้นย้ำนายตำรวจดูแลเรื่องความมั่นคงเป็นพิเศษ โดยให้ผู้บังคับหน่วยกองร้อยควบคุมฝูงชน ควบคุมการปฏิบัติของกำลังพลให้เป็นไปตามแผน "กรกฎ 48" อย่างเคร่งครัด
"แผนโครงข่ายใยแมงมุม" ถูกนำมาใช้เพื่อรองรับการก่อเหตุร้าย เป็นเหมือนการดักจับแมลงทีละชั้น หรือกรองสิ่งที่เล็ดลอดผ่านจากด่านแรก ด้วยการตั้งด่านสกัดตั้งแต่เขตรอบนอกจนถึงพื้นที่สีแดง
โดยใช้กำลังตำรวจจาก 88 สน. ตั้งจุดตรวจ สน.ละ 2 ด่าน รวมทั้งสิ้น 176 จุด เคลื่อนย้ายสลับไปตามถนนสายหลักต่างๆ ในเขตพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) ได้สั่งให้ตั้งด่านจราจรอีก 97 จุด เชื่อมโยงกับโครงข่ายใยแมงมุมของโรงพัก โดย บก.จร.เน้นตั้งจุดตรวจพื้นที่ชั้นใน โดยเฉพาะถนนสายหลักรอบทำเนียบรัฐบาล เช่น ถนนศรีอยุธยา ราชดำเนินนอก และพิษณุโลก เพื่อสกัดรถต้องสงสัยที่จะเข้ามาพื้นที่ชุมนุมตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าการชุมนุมจะยุติ
และหากกลุ่มผู้ไม่หวังดีสามารถเล็ดลอดเข้ามาได้จะเจอกับด่านสุดท้าย ที่มีฝ่ายสืบสวนทั้งตำรวจหญิงและชาย ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ซึ่งเข้าไปแทรกซึมปะปนอยู่กับกลุ่มผู้ชุมนุมคอยหาข่าวเป็นเส้นใยสายสุดท้าย คอยดักจับ
ถ้ารวมกับกำแพงตำรวจควบคุมฝูงชนอีก 23 กองร้อย ทหารอีกนับพันที่อยู่รายรอบม็อบเสื้อแดงแล้วล่ะก็ มดสักตัวก็ยากจะเดินเข้าไปจุดชนวนเหตุได้
อย่างไรก็ตาม "แผนโครงข่ายใยแมงมุม" จะยุติเหตุนองเลือดได้หรือไม่ ต้องติดตามอย่ากะพริบตา
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ภายใต้แรงขับเคลื่อนจากพรรคเพื่อไทย ได้ระดมชาวบ้านนับหมื่นคนเข้าเมืองหลวง
เป้าหมายเพื่อเผด็จศึก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ พร้อมทั้งกดดันให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลาออกหรือยุบสภา
เกมนี้จึงมีเดิมพันสูงยิ่งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับประมุขแห่งบ้านสี่เสาเทเวศร์
ฝ่ายใดพลาดพลั้ง นั่นย่อมถึงความพ่ายแพ้
ศึกหนนี้จึงเชื่อกันว่า จะเล่นกันทั้งบนดินและใต้ดิน ในที่ลับและที่โล่งแจ้ง ร่วมถึงมือที่สอง มือที่สาม ที่อาจเข้ามาก่อเหตุจุดชนวน "สงครามกลางเมือง"
แม้ที่ผ่านมาเกมในสภาจะตกเป็นรอง แต่หลายฝ่ายยังเชื่อว่ายุทธศาสตร์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี วางไว้อาจมี "แผนแตกหัก" ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หากมวลชนคนเสื้อแดงไม่อาจทนกดดันอยู่ได้เกิน 3 วัน จนทำให้แผนการ รวมถึงเงินที่ทุ่มลงไปสูญเปล่า
มีเหตุการณ์ที่ต้องถือว่าเกี่ยวเนื่องกับการเมือง จากความพยายามลอบสังหาร นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม พ.ต.เทียนชัย เมืองจันทึก หรืออ๊อด อายุ 45 ปี พร้อมพวกทั้งหมดให้การรับสารภาพ และยังมีแผนวางเพลิงธนาคารอีก 10 แห่ง เพื่อสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่แผนทั้งหมดเกิดรั่วจากทีมสังหารเสียก่อน
ยังจับสัญญาณอันตรายบางอย่างจากครอบครัว "ชินวัตร" ซึ่งส่อเค้าว่า "ศึกล้มองคมนตรี" คราวนี้จะถึงจุดแตกหัก โดยเฉพาะการเดินทางออกจากประเทศไทยเป็นการด่วนของ คุณหญิงพจมาน พร้อมครอบครัว รวมทั้งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ เมื่อคืนวันที่ 7 เมษายน ก่อนการชุมนุมใหญ่เพียงไม่กี่ชั่วโมง
สัญญาณต่างๆ เหล่านี้ดูเหมือนรัฐบาลเองก็กังวลและมองเกมนี้ออกเช่นกัน
การประเมินสถานการณ์จากฝ่ายความมั่นคงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ โดยมีทหาร ตำรวจ สภาความมั่นคง วิเคราะห์ตรงกันว่า หากสถานการณ์ไปถึงจุดนั้นจริง ต้องสกัดตัวจุดชนวนให้ได้ ทั้งมือที่หนึ่ง มือที่สอง มือที่สาม ที่ว่ากันว่าจะมีทั้งการใช้ระเบิด ลุกลามถึงขั้นเผาสถานที่ราชการเลยทีเดียว
พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ที่ได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ต้องออกคำสั่งเน้นย้ำนายตำรวจดูแลเรื่องความมั่นคงเป็นพิเศษ โดยให้ผู้บังคับหน่วยกองร้อยควบคุมฝูงชน ควบคุมการปฏิบัติของกำลังพลให้เป็นไปตามแผน "กรกฎ 48" อย่างเคร่งครัด
"ในพื้นที่โดยรอบการชุมนุม ให้ตั้งด่านตรวจเป็นเครือข่ายใยแมงมุม เน้นการตรวจอาวุธสงคราม บุคคลต้องสงสัย รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน รถกระบะ รถตู้ ที่มีการขนคนจำนวนมาก พร้อมตั้งจุดสกัดตรวจค้นอาวุธผู้ชุมนุมอย่างละเอียด ห้ามพกพาอาวุธใดๆ เข้าไปในกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด โดยให้ตั้งแผงเหล็กกั้นพื้นที่ให้ผู้ชุมนุมอยู่ในพื้นที่จำกัด และห้ามตำรวจใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม" ผบช.น.ระบุ
"แผนโครงข่ายใยแมงมุม" ถูกนำมาใช้เพื่อรองรับการก่อเหตุร้าย เป็นเหมือนการดักจับแมลงทีละชั้น หรือกรองสิ่งที่เล็ดลอดผ่านจากด่านแรก ด้วยการตั้งด่านสกัดตั้งแต่เขตรอบนอกจนถึงพื้นที่สีแดง
โดยใช้กำลังตำรวจจาก 88 สน. ตั้งจุดตรวจ สน.ละ 2 ด่าน รวมทั้งสิ้น 176 จุด เคลื่อนย้ายสลับไปตามถนนสายหลักต่างๆ ในเขตพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ พล.ต.ต.วีระพัฒน์ ตันศรีสกุล ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) ได้สั่งให้ตั้งด่านจราจรอีก 97 จุด เชื่อมโยงกับโครงข่ายใยแมงมุมของโรงพัก โดย บก.จร.เน้นตั้งจุดตรวจพื้นที่ชั้นใน โดยเฉพาะถนนสายหลักรอบทำเนียบรัฐบาล เช่น ถนนศรีอยุธยา ราชดำเนินนอก และพิษณุโลก เพื่อสกัดรถต้องสงสัยที่จะเข้ามาพื้นที่ชุมนุมตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าการชุมนุมจะยุติ
และหากกลุ่มผู้ไม่หวังดีสามารถเล็ดลอดเข้ามาได้จะเจอกับด่านสุดท้าย ที่มีฝ่ายสืบสวนทั้งตำรวจหญิงและชาย ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ซึ่งเข้าไปแทรกซึมปะปนอยู่กับกลุ่มผู้ชุมนุมคอยหาข่าวเป็นเส้นใยสายสุดท้าย คอยดักจับ
ถ้ารวมกับกำแพงตำรวจควบคุมฝูงชนอีก 23 กองร้อย ทหารอีกนับพันที่อยู่รายรอบม็อบเสื้อแดงแล้วล่ะก็ มดสักตัวก็ยากจะเดินเข้าไปจุดชนวนเหตุได้
อย่างไรก็ตาม "แผนโครงข่ายใยแมงมุม" จะยุติเหตุนองเลือดได้หรือไม่ ต้องติดตามอย่ากะพริบตา