คมชัดลึก :หลังจาก "แกนนำกลุ่มเสื้อแดง" เปลี่ยนข้อเรียกร้องใหม่ให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและ 2 องคมนตรี คือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รวมทั้งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากตำแหน่งรวมทั้งให้ปฏิรูปการเมือง
ซึ่งต่างจากข้อเรียกร้องของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550, ยุบสภาเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ใหม่ โดยให้องค์กรอิสระปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวก่อนลาออกหลังเลือกตั้งใหม่ และให้นิรโทษกรรมอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน
จากข้อเสนอทั้งหมดของกลุ่มเสื้อแดง ถือเป็นข้อเรียกร้องที่ "เบาลง"
มีการมองกันว่าการตัดข้อเรียกร้องอื่น เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมชุมนุมสับสน และแกนนำต้องการปิดเกมเร็วขึ้น จึงต้องยื่นข้อเรียกร้องที่มีโอากาสเป็นไปได้มากที่สุด
โดยการให้ "นายกฯ" ลาออกเป็นการเปิดทางให้มีการเลือกตั้งใหม่ และเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ ส.ส.มากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองทั้งหมด
ส่วนที่ให้ "ประธานองคมนตรีและองคมนตรี" ลาออก เพราะเชื่อว่าจะทำให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ "ผู้นำทางการเมือง" น่าจะมีการเจรจากันในวันที่ 9 เมษายน หลังจากทั้ง 2 ฝ่ายประเมินกำลังตัวเอง โดยรัฐบาลต้องดูว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ ขณะที่แกนนำคนเสื้อแดงก็ต้องประเมินว่าคนที่มาร่วมชุมนุมนั้นมีมากขึ้นหรือ ลดลง
เพราะตั้งแต่ช่วงเช้าของการเคลื่อนผู้ชุมนุมตามจังหวัดต่างๆ ที่ทยอยเข้ามาในกรุงเทพฯ มีความคึกคัก "แกนนำคนเสื้อแดง" ประกาศบนเวทีว่ามีผู้มาชุมนุมถึง 3-4 แสนคน
แต่ปรากฏว่าตั้งแต่ช่วงเวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ผู้คนที่มาจากต่างจังหวัดเริ่มทยอมเดินทางกลับ เพราะถือว่ามาตามพันธสัญญาที่ทำร่วมกัน
ดังนั้นถือว่าวันแรกของการชุมนุมแกนนำเร่งม็อบไม่ขึ้น เพราะเลยช่วงเวลาของการแตกหัก ที่น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงการเคลื่อนขบวนไปบ้าน "สี่เสาเทเวศร์" ตั้งแต่ช่วงเช้า
นอกจากนี้ "แกนนำ" ถูกมองว่ามีสัญญากับ "นายใหญ่" รับบำเหน็จเป็นก้อนจะกลับคงไม่ได้จะแยกย้ายก็ต่อเมื่องานเสร็จตามสัญญา โดยมีการตั้งเวที 3 จุด คือ เวทีทำเนียบรัฐบาล เวทีลานพระบรมรูปทรงม้า และเวทีหน้าบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ เพื่อแสดงการทำงานที่สำเร็จระดับหนึ่ง
ดังนั้นถ้าการชุมนุมครั้งนี้ไม่เกิดเหตุจลาจลก็ถือเป็นการมาชุมนุมเพียงแค่ต้องการ "ดิสเครดิต" พล.อ.เปรม และรัฐบาล เท่านั้น
เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ได้ต้องการให้เกิดเหตุรุนแรง แต่อาจจะมีแกนนำบางคนต้องการปิดเกมเร็ว อาจเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เกิดการจลาจล ทำลายสถานที่ราชการที่สำคัญ ทำให้ผู้มาร่วมชุมนุมรู้สึกว่าถูกรังแก และแกนนำจะปลุกระดมให้ลุกขึ้นสู้ เรียกว่าสภาวะการเป็นไปโดยธรรมชาติมองว่าถูกผู้มีอำนาจทำร้าย
ขณะที่การรับมือของรัฐบาลภายใต้การนำของ "พรรคประชาธิปัตย์" ถูกมองว่าบริหารโดยยึดข้อกฎหมายเป็นหลักทำให้มองว่าเป็นฝ่าย "ตั้งรับ" มากกว่าเป็น "นักรบ"
จึงดูเหมือนว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังรอสถานการณ์มือที่สาม ที่คาดว่าอาจจะมีการก่อเหตุในคืนวันที่ 8 หรือ 9 เมษายนนี้ ซึ่งรัฐบาลจจะใช้เหตุนี้เปิดเกมรุก เข้าสลายหรือควบคุมการชุมนุมทั้งหมด โดยรัฐบาลน่าจะประเมินว่าหากเกิดเหตุจลาจลในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มผู้ชุมนุมจะทยอยกันกลับบ้านเนื่องจากเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย
แต่สำหรับแกนนำคนเสื้อแดงน่าจะมีแผนยกระดับการชุมนุม และหวังให้มีคนมากขึ้นอาจจะทำให้เกิดการชะงักงันในกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเมืองไทยนั้นคาดหวังว่าจะมีอำนาจพิเศษเข้ามาสลายความขัดแย้ง หรือกองทัพมาบอกกับรัฐบาลว่าให้ยุบสภาเหมือนรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์
แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับ "นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ" ว่าจะคิดอย่างไร จะบริหารประเทศต่อไปได้หรือไม่ เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ยังต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมจากปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ในภาวะที่ "พรรคประชาธิปัตย์" ขาดคนทำงานด้าน "มวลชน" หรือ "นักรบ" การทำงานเน้นตั้งรับอย่างเดียวรับรองว่า "รัฐบาลอภิสิทธิ์" เหนื่อย!
ซึ่งต่างจากข้อเรียกร้องของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550, ยุบสภาเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ใหม่ โดยให้องค์กรอิสระปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวก่อนลาออกหลังเลือกตั้งใหม่ และให้นิรโทษกรรมอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน
จากข้อเสนอทั้งหมดของกลุ่มเสื้อแดง ถือเป็นข้อเรียกร้องที่ "เบาลง"
มีการมองกันว่าการตัดข้อเรียกร้องอื่น เพื่อไม่ให้ผู้ร่วมชุมนุมสับสน และแกนนำต้องการปิดเกมเร็วขึ้น จึงต้องยื่นข้อเรียกร้องที่มีโอากาสเป็นไปได้มากที่สุด
โดยการให้ "นายกฯ" ลาออกเป็นการเปิดทางให้มีการเลือกตั้งใหม่ และเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ ส.ส.มากที่สุดในบรรดาพรรคการเมืองทั้งหมด
ส่วนที่ให้ "ประธานองคมนตรีและองคมนตรี" ลาออก เพราะเชื่อว่าจะทำให้พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ "ผู้นำทางการเมือง" น่าจะมีการเจรจากันในวันที่ 9 เมษายน หลังจากทั้ง 2 ฝ่ายประเมินกำลังตัวเอง โดยรัฐบาลต้องดูว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ ขณะที่แกนนำคนเสื้อแดงก็ต้องประเมินว่าคนที่มาร่วมชุมนุมนั้นมีมากขึ้นหรือ ลดลง
เพราะตั้งแต่ช่วงเช้าของการเคลื่อนผู้ชุมนุมตามจังหวัดต่างๆ ที่ทยอยเข้ามาในกรุงเทพฯ มีความคึกคัก "แกนนำคนเสื้อแดง" ประกาศบนเวทีว่ามีผู้มาชุมนุมถึง 3-4 แสนคน
แต่ปรากฏว่าตั้งแต่ช่วงเวลา 17.00 น.เป็นต้นไป ผู้คนที่มาจากต่างจังหวัดเริ่มทยอมเดินทางกลับ เพราะถือว่ามาตามพันธสัญญาที่ทำร่วมกัน
ดังนั้นถือว่าวันแรกของการชุมนุมแกนนำเร่งม็อบไม่ขึ้น เพราะเลยช่วงเวลาของการแตกหัก ที่น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงการเคลื่อนขบวนไปบ้าน "สี่เสาเทเวศร์" ตั้งแต่ช่วงเช้า
นอกจากนี้ "แกนนำ" ถูกมองว่ามีสัญญากับ "นายใหญ่" รับบำเหน็จเป็นก้อนจะกลับคงไม่ได้จะแยกย้ายก็ต่อเมื่องานเสร็จตามสัญญา โดยมีการตั้งเวที 3 จุด คือ เวทีทำเนียบรัฐบาล เวทีลานพระบรมรูปทรงม้า และเวทีหน้าบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ เพื่อแสดงการทำงานที่สำเร็จระดับหนึ่ง
ดังนั้นถ้าการชุมนุมครั้งนี้ไม่เกิดเหตุจลาจลก็ถือเป็นการมาชุมนุมเพียงแค่ต้องการ "ดิสเครดิต" พล.อ.เปรม และรัฐบาล เท่านั้น
เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ได้ต้องการให้เกิดเหตุรุนแรง แต่อาจจะมีแกนนำบางคนต้องการปิดเกมเร็ว อาจเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น เช่น เกิดการจลาจล ทำลายสถานที่ราชการที่สำคัญ ทำให้ผู้มาร่วมชุมนุมรู้สึกว่าถูกรังแก และแกนนำจะปลุกระดมให้ลุกขึ้นสู้ เรียกว่าสภาวะการเป็นไปโดยธรรมชาติมองว่าถูกผู้มีอำนาจทำร้าย
ขณะที่การรับมือของรัฐบาลภายใต้การนำของ "พรรคประชาธิปัตย์" ถูกมองว่าบริหารโดยยึดข้อกฎหมายเป็นหลักทำให้มองว่าเป็นฝ่าย "ตั้งรับ" มากกว่าเป็น "นักรบ"
จึงดูเหมือนว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังรอสถานการณ์มือที่สาม ที่คาดว่าอาจจะมีการก่อเหตุในคืนวันที่ 8 หรือ 9 เมษายนนี้ ซึ่งรัฐบาลจจะใช้เหตุนี้เปิดเกมรุก เข้าสลายหรือควบคุมการชุมนุมทั้งหมด โดยรัฐบาลน่าจะประเมินว่าหากเกิดเหตุจลาจลในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มผู้ชุมนุมจะทยอยกันกลับบ้านเนื่องจากเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย
แต่สำหรับแกนนำคนเสื้อแดงน่าจะมีแผนยกระดับการชุมนุม และหวังให้มีคนมากขึ้นอาจจะทำให้เกิดการชะงักงันในกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเมืองไทยนั้นคาดหวังว่าจะมีอำนาจพิเศษเข้ามาสลายความขัดแย้ง หรือกองทัพมาบอกกับรัฐบาลว่าให้ยุบสภาเหมือนรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์
แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับ "นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ" ว่าจะคิดอย่างไร จะบริหารประเทศต่อไปได้หรือไม่ เพราะหากพรรคประชาธิปัตย์ยังต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมจากปัญหาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ในภาวะที่ "พรรคประชาธิปัตย์" ขาดคนทำงานด้าน "มวลชน" หรือ "นักรบ" การทำงานเน้นตั้งรับอย่างเดียวรับรองว่า "รัฐบาลอภิสิทธิ์" เหนื่อย!