Comment: การใช้บังคับกฎหมายในราชอาณาจักรไทย (Mgr comment#164)
การใช้บังคับกฎหมายในราชอาณาจักรไทย
กฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ ดำเนินการเพื่อบังคับผูกพันต่อบุคคลในลักษณะแห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (RELATIONS MUTUELLES) กฎหมายมีลักษณะเด่นประการหนึ่งที่สำคัญคือ การมีสภาพบังคับ การใช้บังคับกฎหมายมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ การใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ให้เป็นผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อให้การดำเนินชีวิตในทางสังคม (VIE SOCIALE) ของประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้โดยความสงบสุขของส่วนรวม นอกจากนี้การดำเนินการใช้บังคับกฎหมายยังมีนัยที่รวมถึงการสร้างแบบอย่าง เพื่อให้ราษฎรของประเทศยอมรับและเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันจะส่งผลให้บริบทแห่งสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองภายในประเทศสามารถดำเนินการพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ราชอาณาจักรไทยได้รับการยอมรับนับถือจากสหภาพและรัฐต่าง ๆ ในเรื่องความสามารถในการรักษาความปลอดภัยและสงบเรียบร้อยภายใน
บุคคล ที่ดำรงชีวิตในสังคมจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งกฎหมายทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย ศีลธรรม ศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่าบังคับในเชิงกฎหมาย กฎหมายเป็นสิ่งที่จำเป็น (NECESSAIRE) เนื่องจากมนุษย์ทุกคนในสังคมส่วนรวมมีความผูกพันซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกว่า ความผูกพันทางสังคม ความเจริญของประเทศต่าง ๆ ส่วนหนึ่งจะผูกพันกับการใช้บังคับกฎหมาย นอกจากนี้ กฎหมายเป็นนัยแห่งพัฒนาการของมนุษยชาติซึ่งมาจากข้อความคิดในเรื่องความ ยุติธรรม (JUSTICE) ซึ่งต้องการที่จะสร้างความสงบเรียบร้อยในทางสังคม (ORDRE SOCIAL) กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตในสังคมส่วนรวม บุคคลทุกคนในสังคมของประเทศจึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และปฏิบัติตามคำบังคับแห่งกฎหมาย โดยรัฐหรือผู้ปกครองประเทศจะต้องประกันความปลอดภัยและความยุติธรรมให้แก่ สังคม
หลักเกณฑ์ในทางกฎหมายมีทั้งลักษณะซึ่งเป็นนามธรรม (ABSTRAITE) ซึ่งในเชิงความหมายนี้หมายถึง กฎหมายนั้นเป็นภาวะวิสัย ซึ่งมิได้ใช้บังคับ (S’APPLIQUER) ต่อส่วนตัวของปัจเจกชนโดยเฉพาะเท่านั้น แต่กฎหมายยังต้องมีผลต่อบุคคลทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดก็ตาม ความเป็นนามธรรมของกฎหมายนี้เป็นเพียงข้อความคิดในทางการอธิบายกฎหมายเท่า นั้น แต่รัฐต้องดำเนินการให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับในทางข้อเท็จจริง (EN FAIT) และเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ (EN PRATIQUE) กล่าวโดยสรุปกฎหมายมีนัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. กฎหมายไม่ใช่เรื่องส่วนตัวบุคคล (IMPERSONNELLE) กฎหมายจะต้องไม่ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของกรณีใดกรณีหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องเป็นประโยชน์และสามารถใช้บังคับต่อสังคมโดยส่วนรวมทั้งหมด ทั้งนี้กฎหมายจะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมต่อบุคคลใดโดย เฉพาะ การใช้กฎหมายนั้นจะต้องใช้เพื่อปกป้องต่อบุคคลทุกคนในสังคม โดยต้องป้องกันและประกันมิให้เกิดการกระทำอันละเมิด ฝ่าฝืน หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลใด หรือสังคมโดยส่วนรวม ข้อเรียกร้องที่ต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้บุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใดหลุดพ้นจากความรับผิดทางกฎหมาย จึงเป็นข้อเรียกร้องที่ไม่สอดคล้องกับนัยสำคัญทางกฎหมายในลักษณะนี้
2. กฎหมายต้องมีลักษณะทั่วไป (GENERALE) โดยเฉพาะการใช้บังคับกฎหมายต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไปในทุกสถานที่ ดังนั้นกฎหมายจึงต้องใช้บังคับในลักษณะเดียวกันในทุกเขตแดนของราชอาณาจักร ไทย และการใช้บังคับกฎหมายนั้นต้องประกันความชอบด้วยกฎหมายแก่ทุกคนในขณะเดียว กัน การกระทำความผิดของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนใดในราชอาณาจักรไทย รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้บังคับกฎหมายจะต้องกระทำทุกวิถีทาง เพื่อป้องกัน ระงับ และปราบปรามการกระทำความผิดนั้น มิให้ขยายวงกว้างออกไป มาตรการอันสำคัญประการหนึ่งก็คือ รัฐบาลและทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือรัฐ ต้องร่วมมือกันในเชิงการประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจต่อการกระทำใดที่ถือเป็นความผิด และจะต้องได้รับโทษหากกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่บัญญัติไว้
3. กฎหมายต้องมีลักษณะถาวร (PERMANENTE) การใช้บังคับกฎหมายในแต่ละครั้งนั้น บรรดาเงื่อนไข ข้อกฎหมาย และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ จะต้องถูกใช้บังคับอยู่ตลอดเวลา จนกว่ากฎหมายเช่นว่านี้จะถูกยกเลิกไป กฎหมายจึงต้องใช้บังคับอย่างจริงจัง (VIRTUELLEMENT) รัฐบาลและองค์กรรัฐที่มีอำนาจใช้บังคับกฎหมายจะต้องเร่งรัดดำเนินการใช้ บังคับกฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่กระทำการ ละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และสร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคมส่วนรวม โดยเฉพาะการละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายและกระทำความเสียหายต่อรัฐที่กำลัง เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
การ เคารพเชื่อฟังกฎหมาย เป็นแก่นสาระสำคัญแห่งกฎหมาย (obedientia est legis essentia) สาระสำคัญแห่งการปกครองประเทศประการหนึ่งคือ การใช้บังคับกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาล องค์กรผู้มีอำนาจทุกส่วนของรัฐ ต้องเร่งดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด มิให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดก่อการ สร้างกระแส และแสดงอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย เพื่อให้ราษฎรทุกคนในราชอาณาจักรไทยยอมรับและเคารพต่อกฎหมาย ความหายนะ หรือความล้มเหลวในพัฒนาการของประเทศมิได้เกิดจากภัยคุกคามของต่างชาติเสมอไป แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการละเลย เพิกเฉย และการไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลและองค์กรที่มีอำนาจในการใช้บังคับกฎหมายนั้น หย่อนยาน ขาด และไร้ซึ่งความสามารถในการดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด ซึ่งจะทำให้ประชาชนขาดศรัทธาต่อระบบกฎหมาย และหลงผิดคิดไปว่าการกระทำความผิด โดยการละเมิดหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายสามารถกระทำได้ โดยมิต้องถูกลงโทษตามกระบวนการทางกฎหมาย ลักษณะเช่นนี้จะนำไปสู่ความวุ่นวายภายในประเทศที่มิอาจจบสิ้น
การดำเนินการประท้วงภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประชาชนทุกคนย่อมสามารถดำเนินการได้ ในสังคมตะวันตกซึ่งเคารพต่อรัฐเสรีประชาธิปไตย ประชาชนที่ไม่มีกลุ่มสนับสนุนตนในระบอบรัฐสภา ย่อมมีสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ เพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาและรัฐบาลนำข้อเรียกร้องของกลุ่มตนไปแก้ไขตามครรลอง ของระบอบการเมืองและการปกครอง
รัฐบาลและองค์กรผู้ มีอำนาจใช้บังคับกฎหมายทั้งหลายต้องตระหนักให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า ความไร้ประสิทธิภาพในการใช้บังคับกฎหมาย ย่อมนำมาซึ่งความพินาศและการล่มสลายของประเทศชาติได้ ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนทุกคนในชาติจะต้องเรียกร้องให้มีการใช้ บังคับกฎหมายอย่างเด็ดขาดต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กำลังสร้างความหายนะต่อ ราชอาณาจักรไทย และต่อประชาชนโดยส่วนรวมอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นการกระทำที่มุ่งหวังแต่เพียงเพื่อช่วยเหลือให้บุคคลคนเดียวสามารถ กลับคืนสู่อำนาจของตน นอกจากนี้การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวยังได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายและทำลาย ล้างภาพพจน์อันดีงามของราชอาณาจักรไทยต่อสายตาประชาคมโลกด้วยการใช้กำลัง เข้าขัดขวางการประชุมที่สำคัญของประเทศชาติ จะมีชนกลุ่มใดในโลกที่กล้าประกาศชัยชนะเหนือความอัปยศอดสูของประเทศชาติตน เอง โดยเหตุนี้ มาตรการที่สำคัญในการใช้บังคับกฎหมายนั้น รัฐหรือผู้มีอำนาจทางปกครองทั้งหลายจึงต้องเร่งดำเนินการและกระทำอย่างมี ประสิทธิภาพ และให้ปรากฏผลอย่างรวดเร็ว เพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่จะเกิดมีขึ้นอีกในกาลข้างหน้า และเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่กำลังกระทำการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอยู่ใน ขณะนี้เข้าใจและยอมรับว่า แม้บุคคลเหล่านี้จะไม่เกรงกลัวใครก็ตาม แต่เขาต้องเคารพและยำเกรงต่อกฎหมาย
การใช้บังคับกฎหมายในราชอาณาจักรไทย
กฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ ดำเนินการเพื่อบังคับผูกพันต่อบุคคลในลักษณะแห่งความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (RELATIONS MUTUELLES) กฎหมายมีลักษณะเด่นประการหนึ่งที่สำคัญคือ การมีสภาพบังคับ การใช้บังคับกฎหมายมีวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญคือ การใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ให้เป็นผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อให้การดำเนินชีวิตในทางสังคม (VIE SOCIALE) ของประชาชนสามารถดำรงอยู่ได้โดยความสงบสุขของส่วนรวม นอกจากนี้การดำเนินการใช้บังคับกฎหมายยังมีนัยที่รวมถึงการสร้างแบบอย่าง เพื่อให้ราษฎรของประเทศยอมรับและเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อันจะส่งผลให้บริบทแห่งสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองภายในประเทศสามารถดำเนินการพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ราชอาณาจักรไทยได้รับการยอมรับนับถือจากสหภาพและรัฐต่าง ๆ ในเรื่องความสามารถในการรักษาความปลอดภัยและสงบเรียบร้อยภายใน
บุคคล ที่ดำรงชีวิตในสังคมจะต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งกฎหมายทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย ศีลธรรม ศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ เหล่านี้ล้วนมีคุณค่าบังคับในเชิงกฎหมาย กฎหมายเป็นสิ่งที่จำเป็น (NECESSAIRE) เนื่องจากมนุษย์ทุกคนในสังคมส่วนรวมมีความผูกพันซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกว่า ความผูกพันทางสังคม ความเจริญของประเทศต่าง ๆ ส่วนหนึ่งจะผูกพันกับการใช้บังคับกฎหมาย นอกจากนี้ กฎหมายเป็นนัยแห่งพัฒนาการของมนุษยชาติซึ่งมาจากข้อความคิดในเรื่องความ ยุติธรรม (JUSTICE) ซึ่งต้องการที่จะสร้างความสงบเรียบร้อยในทางสังคม (ORDRE SOCIAL) กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตในสังคมส่วนรวม บุคคลทุกคนในสังคมของประเทศจึงต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และปฏิบัติตามคำบังคับแห่งกฎหมาย โดยรัฐหรือผู้ปกครองประเทศจะต้องประกันความปลอดภัยและความยุติธรรมให้แก่ สังคม
หลักเกณฑ์ในทางกฎหมายมีทั้งลักษณะซึ่งเป็นนามธรรม (ABSTRAITE) ซึ่งในเชิงความหมายนี้หมายถึง กฎหมายนั้นเป็นภาวะวิสัย ซึ่งมิได้ใช้บังคับ (S’APPLIQUER) ต่อส่วนตัวของปัจเจกชนโดยเฉพาะเท่านั้น แต่กฎหมายยังต้องมีผลต่อบุคคลทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดก็ตาม ความเป็นนามธรรมของกฎหมายนี้เป็นเพียงข้อความคิดในทางการอธิบายกฎหมายเท่า นั้น แต่รัฐต้องดำเนินการให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับในทางข้อเท็จจริง (EN FAIT) และเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ (EN PRATIQUE) กล่าวโดยสรุปกฎหมายมีนัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. กฎหมายไม่ใช่เรื่องส่วนตัวบุคคล (IMPERSONNELLE) กฎหมายจะต้องไม่ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของกรณีใดกรณีหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ต้องเป็นประโยชน์และสามารถใช้บังคับต่อสังคมโดยส่วนรวมทั้งหมด ทั้งนี้กฎหมายจะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมต่อบุคคลใดโดย เฉพาะ การใช้กฎหมายนั้นจะต้องใช้เพื่อปกป้องต่อบุคคลทุกคนในสังคม โดยต้องป้องกันและประกันมิให้เกิดการกระทำอันละเมิด ฝ่าฝืน หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลใด หรือสังคมโดยส่วนรวม ข้อเรียกร้องที่ต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้บุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใดหลุดพ้นจากความรับผิดทางกฎหมาย จึงเป็นข้อเรียกร้องที่ไม่สอดคล้องกับนัยสำคัญทางกฎหมายในลักษณะนี้
2. กฎหมายต้องมีลักษณะทั่วไป (GENERALE) โดยเฉพาะการใช้บังคับกฎหมายต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไปในทุกสถานที่ ดังนั้นกฎหมายจึงต้องใช้บังคับในลักษณะเดียวกันในทุกเขตแดนของราชอาณาจักร ไทย และการใช้บังคับกฎหมายนั้นต้องประกันความชอบด้วยกฎหมายแก่ทุกคนในขณะเดียว กัน การกระทำความผิดของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใด ไม่ว่าจะอยู่ ณ แห่งหนใดในราชอาณาจักรไทย รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการใช้บังคับกฎหมายจะต้องกระทำทุกวิถีทาง เพื่อป้องกัน ระงับ และปราบปรามการกระทำความผิดนั้น มิให้ขยายวงกว้างออกไป มาตรการอันสำคัญประการหนึ่งก็คือ รัฐบาลและทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือรัฐ ต้องร่วมมือกันในเชิงการประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจต่อการกระทำใดที่ถือเป็นความผิด และจะต้องได้รับโทษหากกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่บัญญัติไว้
3. กฎหมายต้องมีลักษณะถาวร (PERMANENTE) การใช้บังคับกฎหมายในแต่ละครั้งนั้น บรรดาเงื่อนไข ข้อกฎหมาย และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ จะต้องถูกใช้บังคับอยู่ตลอดเวลา จนกว่ากฎหมายเช่นว่านี้จะถูกยกเลิกไป กฎหมายจึงต้องใช้บังคับอย่างจริงจัง (VIRTUELLEMENT) รัฐบาลและองค์กรรัฐที่มีอำนาจใช้บังคับกฎหมายจะต้องเร่งรัดดำเนินการใช้ บังคับกฎหมายอย่างเด็ดขาดและจริงจังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่กระทำการ ละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และสร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคมส่วนรวม โดยเฉพาะการละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายและกระทำความเสียหายต่อรัฐที่กำลัง เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงต่อความวุ่นวาย ความไม่สงบสุข หรือสภาวะอันไร้ขื่อแปของบ้านเมือง กฎหมายจึงต้องมีความผูกพันและมีมาตรการในการบังคับ โทษทัณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายต้องถูกนำมาใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพต่อ ผู้ฝ่าฝืนที่กระทำความผิด เพื่อให้เกิดการยอมรับและมีความเคารพยำเกรงต่อกฎหมาย การละเมิดต่อกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำที่มีโทษทางอาญาจักต้องถูกลงโทษตาม กระบวนการทางกฎหมาย โดยการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐบาลและองค์กรตุลาการ
การ เคารพเชื่อฟังกฎหมาย เป็นแก่นสาระสำคัญแห่งกฎหมาย (obedientia est legis essentia) สาระสำคัญแห่งการปกครองประเทศประการหนึ่งคือ การใช้บังคับกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาล องค์กรผู้มีอำนาจทุกส่วนของรัฐ ต้องเร่งดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด มิให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดก่อการ สร้างกระแส และแสดงอำนาจบาตรใหญ่อยู่เหนือกฎหมาย เพื่อให้ราษฎรทุกคนในราชอาณาจักรไทยยอมรับและเคารพต่อกฎหมาย ความหายนะ หรือความล้มเหลวในพัฒนาการของประเทศมิได้เกิดจากภัยคุกคามของต่างชาติเสมอไป แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการละเลย เพิกเฉย และการไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลและองค์กรที่มีอำนาจในการใช้บังคับกฎหมายนั้น หย่อนยาน ขาด และไร้ซึ่งความสามารถในการดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด ซึ่งจะทำให้ประชาชนขาดศรัทธาต่อระบบกฎหมาย และหลงผิดคิดไปว่าการกระทำความผิด โดยการละเมิดหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายสามารถกระทำได้ โดยมิต้องถูกลงโทษตามกระบวนการทางกฎหมาย ลักษณะเช่นนี้จะนำไปสู่ความวุ่นวายภายในประเทศที่มิอาจจบสิ้น
การดำเนินการประท้วงภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประชาชนทุกคนย่อมสามารถดำเนินการได้ ในสังคมตะวันตกซึ่งเคารพต่อรัฐเสรีประชาธิปไตย ประชาชนที่ไม่มีกลุ่มสนับสนุนตนในระบอบรัฐสภา ย่อมมีสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ เพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาและรัฐบาลนำข้อเรียกร้องของกลุ่มตนไปแก้ไขตามครรลอง ของระบอบการเมืองและการปกครอง
แต่ในราชอาณาจักรไทยในขณะนี้กลับมีลักษณะอันตรงกันข้ามกับสังคมตะวันตกโดย สิ้นเชิง กล่าวคือ การประท้วงของกลุ่มบุคคลที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เป็นการดำเนินการที่ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลผู้สูญเสียอำนาจทางการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางส่วน รวมทั้งกลุ่มบุคคลผู้สูญเสียอำนาจทางการเมืองบางส่วน ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีฐานอำนาจของตนเองอยู่แล้วในระบบรัฐสภา ซึ่งสามารถที่จะอาศัยกลไกทางสภาได้ แต่ไม่ดำเนินการในระบอบรัฐสภาโดยตรง กลับใช้วิธีการก่อความวุ่นวายภายนอกรัฐสภา ปลุกเร้า สร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชน โดยหวังให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรไทย
ประสงค์จะให้เกิดการเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน โดยมีนัยที่ต้องการโค่นล้มรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และอาจเกินเลยไปจนถึงความต้องการที่จะล้มล้างระบอบการปกครองของราชอาณาจักรไทย สร้างข้อต่อรองให้แก่บุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการสร้างข้อเรียกร้องที่ไม่ดำเนินการตามข้อความคิดอันแท้จริงของการ ชุมนุมโดยสงบแบบอารยประเทศ และเป็นไปไม่ได้ในลักษณะของการใช้กฎหมายตามประเด็นที่ได้กล่าวแล้วว่า กฎหมายนั้นต้องมิใช่เรื่องส่วนตัวบุคคล การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดพ้นจากความรับผิดทางกฎหมาย หรือสามารถกลับคืนสู่อำนาจของตน จึงกระทำไม่ได้
รัฐบาลและองค์กรผู้ มีอำนาจใช้บังคับกฎหมายทั้งหลายต้องตระหนักให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า ความไร้ประสิทธิภาพในการใช้บังคับกฎหมาย ย่อมนำมาซึ่งความพินาศและการล่มสลายของประเทศชาติได้ ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนทุกคนในชาติจะต้องเรียกร้องให้มีการใช้ บังคับกฎหมายอย่างเด็ดขาดต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กำลังสร้างความหายนะต่อ ราชอาณาจักรไทย และต่อประชาชนโดยส่วนรวมอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นการกระทำที่มุ่งหวังแต่เพียงเพื่อช่วยเหลือให้บุคคลคนเดียวสามารถ กลับคืนสู่อำนาจของตน นอกจากนี้การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวยังได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายและทำลาย ล้างภาพพจน์อันดีงามของราชอาณาจักรไทยต่อสายตาประชาคมโลกด้วยการใช้กำลัง เข้าขัดขวางการประชุมที่สำคัญของประเทศชาติ จะมีชนกลุ่มใดในโลกที่กล้าประกาศชัยชนะเหนือความอัปยศอดสูของประเทศชาติตน เอง โดยเหตุนี้ มาตรการที่สำคัญในการใช้บังคับกฎหมายนั้น รัฐหรือผู้มีอำนาจทางปกครองทั้งหลายจึงต้องเร่งดำเนินการและกระทำอย่างมี ประสิทธิภาพ และให้ปรากฏผลอย่างรวดเร็ว เพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่จะเกิดมีขึ้นอีกในกาลข้างหน้า และเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่กำลังกระทำการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอยู่ใน ขณะนี้เข้าใจและยอมรับว่า แม้บุคคลเหล่านี้จะไม่เกรงกลัวใครก็ตาม แต่เขาต้องเคารพและยำเกรงต่อกฎหมาย