Find Other Sides of Thai Politic. Update you on the political turmoil in Thailand.

อ่าน ทวิตเตอร์

Upcoming

Monday, May 25, 2009

ผู้พิพากษาฟันธง"สนธิ"นั่งหน.พรรคไม่ได้

http://img507.imageshack.us/img507/6348/kom.jpg
ผู้พิพากษาฟันธง"สนธิ"นั่งหน.พรรคไม่ได้
คมชัดลึก :“ผู้พิพากษา” ยกข้อกฎหมายล้มละลาย ฟังธง “สนธิ” ขาดคุณสมบัตินั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรค ชี้ต้องให้ศาลมีคำสั่งปลดจากการล้มละลายก่อน ขณะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องลงประกาศราชกิจจาฯ – นสพ.รายวัน อีกอย่างน้อย 1 ฉบับ ขณะที่ รธน. - พ.ร.บ.พรรคการเมือง บัญญัติ บุคคลล้มละลายต้องห้ามนั่ง หน.พรรค

จากกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)โดยแกนนำฯ จะขอฉันทามติของกลุ่มในการประชุมสภาพันธมิตรครั้งที่ 1 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ค่ำวันนี้ (25 พ.ค.) เพื่อจัดตั้งพรรคการเมือง แล้วความเป็นไปได้ที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำ พธม.จะเข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคได้หรือไม่ เนื่องจากนายสนธิ เป็นบุคคลล้มละลายนั้น

แหล่งข่าวผู้พิพากษารายหนึ่ง กล่าวว่า บุคคลใดจะเข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองได้หรือไม่ ก็ต้องมีคุณสมบัติที่ไม่ขัดที่ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 บัญญัติไว้ ซึ่งหากกฎหมายบัญญัติห้ามบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง บุคคลนั้นก็ไม่สามารถดำเนินการใด

ขณะที่การจะสิ้นสุดสภาพล้มละลายนั้นไม่มีการกำหนดระยะเวลาว่าจะกี่ปี แต่ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2547 มาตรา 135 บัญญัติเกี่ยวกับการยกเลิกล้มละลายไว้ว่า ให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจสั่งยกเลิกล้มละลายได้ โดยที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งหมายถึงตัวความก็ได้ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) ยื่นคำขอต่อศาลให้มีคำสั่งปลดบุคคลล้มละลายจากการล้มละลาย ซึ่งเหตุที่จะขอยกเลิกการล้มลาย ก็ต้องเป็นไปตามที่มาตรา 135 บัญญัติไว้ใน (1) ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจดำเนินการให้ได้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ (2) ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย (3) หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว (4) เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีทรัพย์สินจะแบ่งให้กับเจ้าหนี้แล้ว โดยเมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ยังมีหน้าที่ต้องโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอีกไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ ตามที่บัญญัติใน มาตรา 138

ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 11 บัญญัติว่า คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ประกอบด้วย หัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค รองเลขาธิการพรรค เหรัญญิก นายทะเบียนสมาชิกพรรค โฆษกพรรค และกรรมการบริหารอื่น ซึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (1) – (7) และ (13) – (14) ซึ่ง รธน. ปี 2550 มาตรา 102 บัญญัติว่า บุคคลที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็น ส.ส. (1) ติดยาเสพติด (2) เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (3) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. (4) ต้องคำพิพากษาจำคุก หรือถูกคุมขังโดยหมายของศาล (5) เคยต้องพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง (6) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (7) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ (13) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และ (14) เคยถูกวุฒิสภา มีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับลักษณะบุคคลล้มละลายทุจริต ตาม รธน. มาตรา 102 (2) บัญญัติต้องห้ามนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 6 นิยามความหมายไว้ว่าคือบุคคลล้มละลายที่ศาลมีคำพิพากษาว่ามีความผิดตามมาตรา 163 -170 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ความผิดเกี่ยวกับละเว้นการแจ้งข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการฉ้อฉลเสนอให้ผลประโยชน์ให้เจ้าหนี้ เพื่อประโยชน์ขอประนอมหนี้ และคัดค้านการปลดจากการล้มละลาย) หรือเป็นบุคคลล้มละลายเนื่องจากการกระทำผิดฐานยักยอก หรือฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดลักษณะการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

Label Cloud