คมชัดลึก :กรรมการบริหารสมาคมนักข่าววิทยุและ โทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีความห่วงใยต่อเหตุการณ์ผู้ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดงรุมด่าทอและพยายามทำร้ายนัก ข่าวระหว่างทำข่าวการชุมนุม หวั่นทำให้เกิดบรรยากาศความหวาดกลัวในการรายงานข่าว
จากกรณีที่ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 7 และสำนักข่าวเนชั่น ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงคุก คาม โดยการขว้างปาขวดน้ำพร้อมทั้งเข้ามารุมด่าทอ ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับ ไล่เผด็จการ (นปช.) เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552
วันนี้ (8 เม.ย.) นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนายวันชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงว่า
แกนนำสมาคมวิชาชีพกล่าวต่อไปว่า สมาคมฯ ขอเรียกร้องให้แกนนำผู้ชุมนุมมีมาตรการดูแลความปลอดภัยของผู้สื่อข่าวอย่าง ชัดเจนและเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจกับผู้ชุมนุมต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ทำงาน โดยปราศจากอคติ ขณะเดียวกัน ก็ขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนภาคสนามว่า มีความยากลำบากอย่างไร การคุกคามในลักษณะดังกล่าว อาจสร้างความหวาดกลัวและอึดอัดใจต่อการทำหน้าที่ของสื่อจนอาจส่งผลต่อการทำ หน้าที่ในการรายงานข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบด้วย
นายกสมาคมนักข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการชุมนุมไม่ควรเพิก เฉยต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสื่อมวลชนดังกล่าว และควรเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้เป็นที่พึ่งของสื่อมวลชนเมื่อเกิด เหตุการณ์รุนแรงได้
“ในการรายงานข่าวการชุมนุมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สื่อมวลชนเอง ก็ต้องรายงานข่าวและข้อเท็จจริงด้วยความครบถ้วนรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคข่าวสารสามารถใช้วิจารณญานในการพิจารณาข้อมูลข่าว สารที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายวันชัยกล่าว
จากกรณีที่ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ช่อง 7 และสำนักข่าวเนชั่น ถูกกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงคุก คาม โดยการขว้างปาขวดน้ำพร้อมทั้งเข้ามารุมด่าทอ ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับ ไล่เผด็จการ (นปช.) เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2552
วันนี้ (8 เม.ย.) นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนายวันชัย วงศ์มีชัย อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงว่า
ทั้ง 2 สมาคมวิชาชีพ มีความห่วงใยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเห็นว่าการคุกคามการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าวที่รายงานข่าวการชุมนุม ได้สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวและสร้างความอัดอัดใจต่อการทำหน้าที่ของ สื่อมวลชนที่ต้องรายงานข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบ และถึงแม้แกนนำผู้ชุมนุมได้พยายามชี้แจงว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำของ กลุ่มมือที่ 3 แต่แกนนำผู้ชุมนุมย่อมไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบ เพียงการกล่าวอ้างว่าเป็นการการกระทำของมือที่สามไม่ได้
แกนนำสมาคมวิชาชีพกล่าวต่อไปว่า สมาคมฯ ขอเรียกร้องให้แกนนำผู้ชุมนุมมีมาตรการดูแลความปลอดภัยของผู้สื่อข่าวอย่าง ชัดเจนและเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจกับผู้ชุมนุมต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ทำงาน โดยปราศจากอคติ ขณะเดียวกัน ก็ขอให้กลุ่มผู้ชุมนุมเข้าใจการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนภาคสนามว่า มีความยากลำบากอย่างไร การคุกคามในลักษณะดังกล่าว อาจสร้างความหวาดกลัวและอึดอัดใจต่อการทำหน้าที่ของสื่อจนอาจส่งผลต่อการทำ หน้าที่ในการรายงานข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบด้วย
นายกสมาคมนักข่าววิทยุ และโทรทัศน์ไทย กล่าวอีกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการชุมนุมไม่ควรเพิก เฉยต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสื่อมวลชนดังกล่าว และควรเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้เป็นที่พึ่งของสื่อมวลชนเมื่อเกิด เหตุการณ์รุนแรงได้
“ในการรายงานข่าวการชุมนุมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สื่อมวลชนเอง ก็ต้องรายงานข่าวและข้อเท็จจริงด้วยความครบถ้วนรอบด้าน เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคข่าวสารสามารถใช้วิจารณญานในการพิจารณาข้อมูลข่าว สารที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นายวันชัยกล่าว