Find Other Sides of Thai Politic. Update you on the political turmoil in Thailand.

อ่าน ทวิตเตอร์

Upcoming

Wednesday, April 1, 2009

โพลชี้ ปชช.ไม่สบายใจหลัง "ทักษิณ" โฟนอินห่วงรุนแรงเพิ่ม ไม่เห็นด้วยพาดพิงบุคคลสำคัญ

เอแบคโพลเผยผลสำรวจพบประช่าชน 73.4% ไม่เห็นด้วยกับการโฟนอินที่พาดพิงบุคคลสำคัญ และ 69.4% ไม่สบายใจ ห่วงขัดแย้งรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก

 
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล "เอแบคเรียลไทม์โพลล์" ในหัวข้อเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อ การโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ อ่างทอง สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา สตูล และสุราษฎร์ธานี จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,154 ตัวอย่าง ในวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมาด้วยระบบเทคโนโลยีสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและ ประมวลผลแบบเรียลไทม์


ผลสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.5 ทราบข่าวการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ไม่ทราบข่าว แต่เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรีที่กล่าวพาดพิง บุคคลสำคัญของสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 ไม่เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 15.6 เห็นด้วย และร้อยละ 11.0 ไม่มีความเห็น


ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 รู้สึกไม่สบายใจ หลังทราบข่าวการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเกรงว่าบ้านเมืองจะวุ่นวาย เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีก ปัญหาเยอะมากพออยู่แล้ว มีการโจมตีผู้ใหญ่ในสังคม เกรงอดีตนายกรัฐมนตรีจะได้รับอันตราย และกลัวการปฏิวัติยึดอำนาจอีก เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 23.3 รู้สึกสบายใจ เพราะได้ยิน ได้เห็น พ.ต.ท.ทักษิณ และเห็นว่าประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยอยู่ เป็นต้น และร้อยละ 7.3 ระบุไม่รู้สึกอะไร เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับใคร ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับตนเอง เป็นต้น


ที่น่าเป็นห่วงคือส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายขึ้นอีกในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 10.9 ไม่คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายอีก และร้อยละ 27.3 ไม่มีความเห็น


สิ่งที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งในมุมมองของประชาชนที่ถูกศึกษา คือ ทางออกของปัญหาการเมืองที่อยากเห็น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.4 อยากให้คนไทยรักกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 86.2 ยึดมั่นในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 83.5 หยุดการโต้ตอบกันไปมา ร้อยละ 67.9 นำวัฒนธรรม ประเพณีไทยมาแก้ปัญหาแตกแยก ร้อยละ 55.3 ระบุให้เร่งรัดคดีความต่างๆ ให้จบสิ้น ร้อยละ 52.2 ให้จับมือกันกับอดีตนายกรัฐมนตรี เร่งแก้ปัญหาของประเทศ และร้อยละ 39.1 ให้นำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ ตามลำดับ

matichon

Label Cloud