"ผมเคารพในหลวงท่านเหมือนพ่อหลวง เหมือนเจ้าหลวง เหมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ผมเคยเห็นตัวอย่าง ใจผมคิดว่าถ้าใครทำอะไรไม่ดีเกี่ยวกับสถาบันมักจะมีอันเป็นไป เช่น เหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน"
เนื้อหาบางส่วนที่นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อชาติและประชาชน" เนื่องในวันข้าราชการพลเรือนประจำปี 2552 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ผมเป็นอดีตข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และปัจจุบันเป็นองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สิ่งที่ผมเป็นห่วงคือเหตุการณ์บ้านเมืองตอนนี้ รายการอะไรที่เขาเรียกว่าโฟนอินอะไรต่างๆ ดังนั้นในฐานะองคมนตรีจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ การจะแต่งตัว การจะพูด การจะอ้างอิง ก็คงต้องระมัดระวัง ยิ่งมีการถ่ายทอด เสื้อนี่ผมก็ต้องระวัง เหลืองก็ต้องเก็บไว้ก่อน เนคไทน์แดงก็อย่าใช้ ตอนนี้ชักห่วงมีสีอื่นอีกแล้ว คงเหลือแต่สีขาวและสีดำที่ยังใช้ได้ตลอด ทำให้ต้องระวัง บางทีได้ยินข้อมูลอะไรมาใหม่ๆ ก็ไม่กล้านำมาเล่าต่อ เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะกล่าวในชุมชน ทำให้หมดสนุกไปเยอะในการมาบรรยายเช่นนี้
ก่อนอื่นผมขอแนะนำตัวเอง บางคนไม่ทราบว่าองคมนตรีคือกลุ่มคนประเภทไหน ทำอะไร ก็เลยอยากเอามาสรุปให้ฟัง ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 หมวด 2 มาตรา 12 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคน หนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 13 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 14 องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ
มาตรา 16 องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
นี่เป็นสรุปหน้าที่ขององคมนตรี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 19 ท่าน อายุประมาณ 60-88 ปี และมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้ง 19 คน ประกอบด้วย ด้านนิติศาสตร์ 8 คน ด้านการทหาร 4 คน ด้านวิศวกรรม 4 คน ด้านวิทยาศาสตร์ 1 คน ด้านรัฐศาสตร์ 1 คน และด้านการเกษตร 1 คน ส่วนสถานะสมรส 14 คน และเป็นโสด หรือม่าย 5 คน
ผมเองได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2537 และได้ถวายสัตย์ปฏิญาณตนด้วยข้อความว่า " ข้าพระพุทธเจ้า (นายอำพล เสนาณรงค์) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
การที่ผมได้เป็นองคมนตรีโดยไม่ได้คาดฝันมาก่อน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างตื่นเต้นมาก และนับจากวันนั้นจนถึงบัดนี้ เป็นเวลาประมาณ 15 ปี ผมได้ปฏิบัติตามคำถวายสัตย์ฯ นี้โดยเคร่งครัด และมั่นใจว่าตั้งแต่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2499 ผมได้ปฏิบัติเหมือนคำปฏิญาณโดยมิคลาดเคลื่อน และจะปฏิบัติต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่
สำหรับคุณสมบัติของข้าราชการไทยที่ดี ผมขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งบางประโยคที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระราชทานไว้มากล่าวไว้ ณ ที่นี้เพื่อความเป็นสิริมงคลคือ ข้าราชการพลเรือนต้องยึดมั่นในผลประโยชน์ของแผ่นดิน และความถูกต้องเป็นธรรม พยายามปฏิบัติตนปฏิบัติงานให้สัมพันธ์ ประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่นให้ได้ ปฏิบัติเพื่อส่วนรวมอยู่เสมอ อย่านึกถึงบำเหน็จ หรือผลรางวัลให้มากนัก ผมคิดว่าเราทุกคนคงได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติมาโดยตลอด
สำนักงานก.พ. ออกพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มา แม้จะมีการปรับปรุงระเบียบอย่างไร แต่ปัญหาข้าราชการก็ยังมีอยู่สืบเนื่องกันมา ปัญหาใหญ่คือ
1.ปัญหาความขัดแย้งระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำกับข้าราชการประจำ และข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำ ผมคิดว่าท่านทั้งหลายที่ติดตามข่าวมาจะเห็นความขัดแย้งเหล่านี้ บางกระทรวงในเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ นายกฯ บางท่านย้ายทีเดียว 40 ตำแหน่ง พอมานายกฯ อีกท่านก็ย้ายกลับอีก 40 ตำแหน่ง เป็นระบบที่เราไม่ทราบได้ แต่สาเหตุใหญ่ๆ มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวง
2.ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดในวงราชการและเอกชนมาช้านานแล้ว ผมว่าอาจจะเป็นประเพณีไทยของเราที่มาการจิ้มกล้อง มีการมอบของ ทำให้กลายเป็นนิสัยคอร์รัปชั่น แต่ปัญหาจะมีมากน้อยต่างกันตามสมัยของฝ่ายบริหารและการเมือง โดยรูปแบบหรือวิธีการได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ มักเกิดในกระทรวงที่มีอำนาจสูงในการเมือง การเงิน มีการก่อสร้างมาก จัดซื้อจัดจ้างมาก ที่น่าเสียดายคือคนสั่งมักไม่ค่อยมีปัญหา แต่ผู้ปฏิบัติส่วนล่างมีปัญหาค้างอยู่
ผมทราบจากน้องๆ หลายคน เช่น เรื่องการจัดซื้อพันธุ์พืชอะไรต่างๆ ก็มีคดีค้างอยู่ อันนี้คิดว่าน่าจะเป็นบทเรียนมาก แต่คงแนะนำลำบาก ผมเองคงไม่แนะนำให้ใครปฏิบัติตัวเป็นข้าราชการที่ดี โดยยอมเป็นรองอธิบดีถึง 11 ปี ถ้าเป็นคนอื่น 2 ปีก็ได้เป็นรัฐมนตรี เป็นนายกฯ ไปแล้ว เอ้ย! โทษมากไป เป็นนายกฯ ต้องปฏิวัติ
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานั้น รัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 259-280 เขียนไว้ชัดเลย และจะเห็นว่าหลายคดี หลายท่านที่อยู่ที่อื่นก็มีผลจากตรงนี้ หมวด 1 มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ ผมอ่านเท่านี้ ท่านตีความหมายเองแล้วกัน มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ มีบัญญัติหลายส่วนคือ 1.การตรวจสอบทรัพย์สินก่อนและหลังรับตำแหน่ง 2. เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นข้าราชการแต่ไปมีหุ้นส่วนให้ตัวเอง อย่าพูดว่าไปให้คนใช้ เดี๋ยวยุ่งอีก 3.การถอดถอนออกจากตำแหน่ง 4.การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าเป็นนักการเมืองมีเงินก็อาจจะเช่าเครื่องบินหนีไป แต่ถ้าไม่มีเงินก็ไปที่จ.ตราด ไปที่อ.แม่สอด อ.แม่สาย ข้ามแม่น้ำโขงหนีไป 5.จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐธรรมนูญเขาเขียนไว้ดี แต่การปฏิบัติมีปัญหา
นอกจากนี้ในพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในหมวด 5-11 มาตรา 78-126 ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาในวงราชการ และอีกส่วนคือสมาคมข้าราชการพลเรือนคงต้องช่วยกัน
การสร้างคนให้เป็นคนดี ให้เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมมักพูดถึง 2 ส่วนใหญ่คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม สำหรับเรื่องการทำงานจะมีตัวอย่างที่ดีและไม่ดี พวกข้าราชการพลเรือนจะเสียเปรียบข้าราชการทหารและตำรวจ เพราะเขาจะสอนเรื่องวินัย จะเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา แม้บางครั้งจะเป็นคำสั่งที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก แต่เขาถือว่าคำสั่งผู้บังคับบัญชา ต้องปฏิบัติ ถ้ากองทัพ หรือตำรวจไม่มีวินัย อันนั้นคือกองโจร
แต่สำหรับข้าราชการพลเรือนเมื่อเข้าไปก็ต้องดูนาย ซึ่งมีทั้งนายดีและไม่ดี เขาเรียกว่าหัวไม่ส่ายหางไม่กระดิก ถ้านายดี ลูกน้องก็ค่อนข้างดี แต่ถ้านายหากิน ลูกน้องก็มักเป็นอย่างนั้น เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าน่าเสียดาย บางคนก็ถอยอออกมา แม้จะอยู่ในสภาพพายเรือให้โจรนั่ง แต่ก็ต้องอยู่อย่างนั้น เพราะเราเป็นข้าราชการไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ต้องทนจนกว่าเขาจะไป
สิ่งที่ข้าราชการยึดถือเป็นหลักได้มี 2 ส่วนคือ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าเราคนไทยโชคดีที่มีแบบอย่างที่ดี ผมเคารพในหลวงท่านเหมือนพ่อหลวง เหมือนเจ้าหลวง เหมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ผมเคยเห็นตัวอย่าง ใจผมคิดว่าถ้าใครทำอะไรไม่ดีเกี่ยวกับสถาบันมักจะมีอันเป็นไป เช่น เหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน
อยากเรียนว่าในองค์พระประมุขของเรา ท่านเป็นประมุขของประเทศไทย ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล และทรงปฏิบัติโดยเคร่งคัด ไม่เคยล่วงละเมิดเลย แต่หลายคนพยายามอ้างว่าท่านละเมิด ไม่ได้ปฏิบัติตามนี้ ผมขอยืนยันว่าไม่จริง ท่านไม่เคยละเมิดเลย ท่านปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ท่านไม่จำเป็นต้องประกอบพระราชภารกิจใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะงานวิจัย งานพัฒนา งานส่งเสริมอาชีพประชาชน แต่เนื่องจากพระองค์ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน จึงทรงมีพระปณิธานตั้งแต่ทรงครองราชย์ว่าจะช่วยเหลือประชาชน แก้ไขความทุกข์ยากให้ประชาชน และทรงสละพระราชทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อดำเนินโครงการพระราชดำริต่างๆ แต่ถึงกระนั้นพระองค์ไม่เคยละเมิดรัฐธรรมนูญเลย
สิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติคือการยึดหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งหลักทศพิธราชธรรมไม่ใช่สิ่งหวงห้าม เป็นสิ่งที่ข้าราชการนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงไว้ซึ่งพระราชประสบการณ์อันยาวนาน ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจยาวนานถึง 60 ปี เคยผ่านรัฐบาลอย่างน้อย 37 คณะ นายกฯถึง 18 คน นายกฯ บางคนมาแป๊บเดียว เพิ่งผ่านนโยบายก็ไปแล้ว แต่พระองค์ท่านต้องเฝ้าดู พยายามนำสิ่งต่างๆ มาแนะนำ หลายคำแนะนำที่พระราชทานให้ บางทีเขาก็ไม่เชื่อนะ แต่ก็ยังดีที่รับใส่เกล้าฯ แต่ไม่ปฏิบัติ
นอกจากนี้ท่านยังทรงแปรพระราชฐาน 71 จังหวัดในช่วงปี 2496-2502 การทำงานของข้าราชการก็จำเป็นต้องผ่านสัมผัส 5 ต้องเห็นด้วยตนเอง
ท้ายที่สุดผมรู้สึกเป็นเกียรติ และมีความสุขที่ได้รับเชิญมาบรรยายในวันนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ผมมีชีวิตและเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ผมเคารพบูชารัก และถวายความเคารพยิ่งกว่าชีวิตโดยมิได้เสแสร้ง หรือมีกฎเกณฑ์ใดๆ บังคับ แต่โดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น นอกจากมีความสุขกาย สบายใจ และมีชีวิตยืนยาว
ในโอกาสนี้ผมใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านให้เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต และปัญหาความแตกแยกเช่นปัจจุบันนี้ ผมมั่นใจว่าหากท่านยึดแนวปฏิบัติ แม้เสี้ยวหนึ่งของพระองค์ท่าน ก็จะทำให้เจริญ สุขกาย สบายใจ ไม่เหนื่อยยาก มีชีวิตยืนยาว มีกำลังกาย กำลังใจในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ สามารถทำงานเพื่อประเทศชาติตลอดไป
มติชน
เนื้อหาบางส่วนที่นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อชาติและประชาชน" เนื่องในวันข้าราชการพลเรือนประจำปี 2552 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ผมเป็นอดีตข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และปัจจุบันเป็นองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สิ่งที่ผมเป็นห่วงคือเหตุการณ์บ้านเมืองตอนนี้ รายการอะไรที่เขาเรียกว่าโฟนอินอะไรต่างๆ ดังนั้นในฐานะองคมนตรีจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ การจะแต่งตัว การจะพูด การจะอ้างอิง ก็คงต้องระมัดระวัง ยิ่งมีการถ่ายทอด เสื้อนี่ผมก็ต้องระวัง เหลืองก็ต้องเก็บไว้ก่อน เนคไทน์แดงก็อย่าใช้ ตอนนี้ชักห่วงมีสีอื่นอีกแล้ว คงเหลือแต่สีขาวและสีดำที่ยังใช้ได้ตลอด ทำให้ต้องระวัง บางทีได้ยินข้อมูลอะไรมาใหม่ๆ ก็ไม่กล้านำมาเล่าต่อ เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะกล่าวในชุมชน ทำให้หมดสนุกไปเยอะในการมาบรรยายเช่นนี้
ก่อนอื่นผมขอแนะนำตัวเอง บางคนไม่ทราบว่าองคมนตรีคือกลุ่มคนประเภทไหน ทำอะไร ก็เลยอยากเอามาสรุปให้ฟัง ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 หมวด 2 มาตรา 12 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคน หนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คนประกอบเป็นคณะองคมนตรี คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวง ที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 13 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี หรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 14 องคมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใดๆ
มาตรา 16 องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง
นี่เป็นสรุปหน้าที่ขององคมนตรี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 19 ท่าน อายุประมาณ 60-88 ปี และมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทั้ง 19 คน ประกอบด้วย ด้านนิติศาสตร์ 8 คน ด้านการทหาร 4 คน ด้านวิศวกรรม 4 คน ด้านวิทยาศาสตร์ 1 คน ด้านรัฐศาสตร์ 1 คน และด้านการเกษตร 1 คน ส่วนสถานะสมรส 14 คน และเป็นโสด หรือม่าย 5 คน
ผมเองได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2537 และได้ถวายสัตย์ปฏิญาณตนด้วยข้อความว่า " ข้าพระพุทธเจ้า (นายอำพล เสนาณรงค์) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
การที่ผมได้เป็นองคมนตรีโดยไม่ได้คาดฝันมาก่อน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างตื่นเต้นมาก และนับจากวันนั้นจนถึงบัดนี้ เป็นเวลาประมาณ 15 ปี ผมได้ปฏิบัติตามคำถวายสัตย์ฯ นี้โดยเคร่งครัด และมั่นใจว่าตั้งแต่รับราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2499 ผมได้ปฏิบัติเหมือนคำปฏิญาณโดยมิคลาดเคลื่อน และจะปฏิบัติต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่
สำหรับคุณสมบัติของข้าราชการไทยที่ดี ผมขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งบางประโยคที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระราชทานไว้มากล่าวไว้ ณ ที่นี้เพื่อความเป็นสิริมงคลคือ ข้าราชการพลเรือนต้องยึดมั่นในผลประโยชน์ของแผ่นดิน และความถูกต้องเป็นธรรม พยายามปฏิบัติตนปฏิบัติงานให้สัมพันธ์ ประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่นให้ได้ ปฏิบัติเพื่อส่วนรวมอยู่เสมอ อย่านึกถึงบำเหน็จ หรือผลรางวัลให้มากนัก ผมคิดว่าเราทุกคนคงได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติมาโดยตลอด
สำนักงานก.พ. ออกพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มา แม้จะมีการปรับปรุงระเบียบอย่างไร แต่ปัญหาข้าราชการก็ยังมีอยู่สืบเนื่องกันมา ปัญหาใหญ่คือ
1.ปัญหาความขัดแย้งระหว่างข้าราชการการเมืองกับข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำกับข้าราชการประจำ และข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำ ผมคิดว่าท่านทั้งหลายที่ติดตามข่าวมาจะเห็นความขัดแย้งเหล่านี้ บางกระทรวงในเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ นายกฯ บางท่านย้ายทีเดียว 40 ตำแหน่ง พอมานายกฯ อีกท่านก็ย้ายกลับอีก 40 ตำแหน่ง เป็นระบบที่เราไม่ทราบได้ แต่สาเหตุใหญ่ๆ มาจากการทุจริตคอร์รัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวง
2.ปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดในวงราชการและเอกชนมาช้านานแล้ว ผมว่าอาจจะเป็นประเพณีไทยของเราที่มาการจิ้มกล้อง มีการมอบของ ทำให้กลายเป็นนิสัยคอร์รัปชั่น แต่ปัญหาจะมีมากน้อยต่างกันตามสมัยของฝ่ายบริหารและการเมือง โดยรูปแบบหรือวิธีการได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ มักเกิดในกระทรวงที่มีอำนาจสูงในการเมือง การเงิน มีการก่อสร้างมาก จัดซื้อจัดจ้างมาก ที่น่าเสียดายคือคนสั่งมักไม่ค่อยมีปัญหา แต่ผู้ปฏิบัติส่วนล่างมีปัญหาค้างอยู่
ผมทราบจากน้องๆ หลายคน เช่น เรื่องการจัดซื้อพันธุ์พืชอะไรต่างๆ ก็มีคดีค้างอยู่ อันนี้คิดว่าน่าจะเป็นบทเรียนมาก แต่คงแนะนำลำบาก ผมเองคงไม่แนะนำให้ใครปฏิบัติตัวเป็นข้าราชการที่ดี โดยยอมเป็นรองอธิบดีถึง 11 ปี ถ้าเป็นคนอื่น 2 ปีก็ได้เป็นรัฐมนตรี เป็นนายกฯ ไปแล้ว เอ้ย! โทษมากไป เป็นนายกฯ ต้องปฏิวัติ
สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหานั้น รัฐธรรมนูญปี 2550 ในมาตรา 259-280 เขียนไว้ชัดเลย และจะเห็นว่าหลายคดี หลายท่านที่อยู่ที่อื่นก็มีผลจากตรงนี้ หมวด 1 มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ ผมอ่านเท่านี้ ท่านตีความหมายเองแล้วกัน มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ มีบัญญัติหลายส่วนคือ 1.การตรวจสอบทรัพย์สินก่อนและหลังรับตำแหน่ง 2. เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นข้าราชการแต่ไปมีหุ้นส่วนให้ตัวเอง อย่าพูดว่าไปให้คนใช้ เดี๋ยวยุ่งอีก 3.การถอดถอนออกจากตำแหน่ง 4.การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ้าเป็นนักการเมืองมีเงินก็อาจจะเช่าเครื่องบินหนีไป แต่ถ้าไม่มีเงินก็ไปที่จ.ตราด ไปที่อ.แม่สอด อ.แม่สาย ข้ามแม่น้ำโขงหนีไป 5.จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐธรรมนูญเขาเขียนไว้ดี แต่การปฏิบัติมีปัญหา
นอกจากนี้ในพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ในหมวด 5-11 มาตรา 78-126 ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาในวงราชการ และอีกส่วนคือสมาคมข้าราชการพลเรือนคงต้องช่วยกัน
การสร้างคนให้เป็นคนดี ให้เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมมักพูดถึง 2 ส่วนใหญ่คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม สำหรับเรื่องการทำงานจะมีตัวอย่างที่ดีและไม่ดี พวกข้าราชการพลเรือนจะเสียเปรียบข้าราชการทหารและตำรวจ เพราะเขาจะสอนเรื่องวินัย จะเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา แม้บางครั้งจะเป็นคำสั่งที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก แต่เขาถือว่าคำสั่งผู้บังคับบัญชา ต้องปฏิบัติ ถ้ากองทัพ หรือตำรวจไม่มีวินัย อันนั้นคือกองโจร
แต่สำหรับข้าราชการพลเรือนเมื่อเข้าไปก็ต้องดูนาย ซึ่งมีทั้งนายดีและไม่ดี เขาเรียกว่าหัวไม่ส่ายหางไม่กระดิก ถ้านายดี ลูกน้องก็ค่อนข้างดี แต่ถ้านายหากิน ลูกน้องก็มักเป็นอย่างนั้น เป็นสิ่งที่ผมคิดว่าน่าเสียดาย บางคนก็ถอยอออกมา แม้จะอยู่ในสภาพพายเรือให้โจรนั่ง แต่ก็ต้องอยู่อย่างนั้น เพราะเราเป็นข้าราชการไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ต้องทนจนกว่าเขาจะไป
สิ่งที่ข้าราชการยึดถือเป็นหลักได้มี 2 ส่วนคือ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าเราคนไทยโชคดีที่มีแบบอย่างที่ดี ผมเคารพในหลวงท่านเหมือนพ่อหลวง เหมือนเจ้าหลวง เหมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง ผมเคยเห็นตัวอย่าง ใจผมคิดว่าถ้าใครทำอะไรไม่ดีเกี่ยวกับสถาบันมักจะมีอันเป็นไป เช่น เหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน
อยากเรียนว่าในองค์พระประมุขของเรา ท่านเป็นประมุขของประเทศไทย ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล และทรงปฏิบัติโดยเคร่งคัด ไม่เคยล่วงละเมิดเลย แต่หลายคนพยายามอ้างว่าท่านละเมิด ไม่ได้ปฏิบัติตามนี้ ผมขอยืนยันว่าไม่จริง ท่านไม่เคยละเมิดเลย ท่านปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ท่านไม่จำเป็นต้องประกอบพระราชภารกิจใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะงานวิจัย งานพัฒนา งานส่งเสริมอาชีพประชาชน แต่เนื่องจากพระองค์ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน จึงทรงมีพระปณิธานตั้งแต่ทรงครองราชย์ว่าจะช่วยเหลือประชาชน แก้ไขความทุกข์ยากให้ประชาชน และทรงสละพระราชทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อดำเนินโครงการพระราชดำริต่างๆ แต่ถึงกระนั้นพระองค์ไม่เคยละเมิดรัฐธรรมนูญเลย
สิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติคือการยึดหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งหลักทศพิธราชธรรมไม่ใช่สิ่งหวงห้าม เป็นสิ่งที่ข้าราชการนำไปปฏิบัติได้ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงไว้ซึ่งพระราชประสบการณ์อันยาวนาน ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจยาวนานถึง 60 ปี เคยผ่านรัฐบาลอย่างน้อย 37 คณะ นายกฯถึง 18 คน นายกฯ บางคนมาแป๊บเดียว เพิ่งผ่านนโยบายก็ไปแล้ว แต่พระองค์ท่านต้องเฝ้าดู พยายามนำสิ่งต่างๆ มาแนะนำ หลายคำแนะนำที่พระราชทานให้ บางทีเขาก็ไม่เชื่อนะ แต่ก็ยังดีที่รับใส่เกล้าฯ แต่ไม่ปฏิบัติ
นอกจากนี้ท่านยังทรงแปรพระราชฐาน 71 จังหวัดในช่วงปี 2496-2502 การทำงานของข้าราชการก็จำเป็นต้องผ่านสัมผัส 5 ต้องเห็นด้วยตนเอง
ท้ายที่สุดผมรู้สึกเป็นเกียรติ และมีความสุขที่ได้รับเชิญมาบรรยายในวันนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ผมมีชีวิตและเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ผมเคารพบูชารัก และถวายความเคารพยิ่งกว่าชีวิตโดยมิได้เสแสร้ง หรือมีกฎเกณฑ์ใดๆ บังคับ แต่โดยที่ไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น นอกจากมีความสุขกาย สบายใจ และมีชีวิตยืนยาว
ในโอกาสนี้ผมใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านให้เดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต และปัญหาความแตกแยกเช่นปัจจุบันนี้ ผมมั่นใจว่าหากท่านยึดแนวปฏิบัติ แม้เสี้ยวหนึ่งของพระองค์ท่าน ก็จะทำให้เจริญ สุขกาย สบายใจ ไม่เหนื่อยยาก มีชีวิตยืนยาว มีกำลังกาย กำลังใจในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ สามารถทำงานเพื่อประเทศชาติตลอดไป
มติชน