Find Other Sides of Thai Politic. Update you on the political turmoil in Thailand.

อ่าน ทวิตเตอร์

Upcoming

Sunday, June 21, 2009

นายกฯยันไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจ

โพสต์ ทูเดย์ - นายกฯยันไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจ

นายกรัฐมนตรี พร้อมปรับแก้กฎหมายเพื่อเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่อง"การแก้วิกฤติเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทยเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว"ว่า รัฐบาลพร้อมสนับสนุนการลงทุนทุกด้านทั้งจากเอกชนในประเทศและต่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาตลาดทุนให้เป็นแหล่งระดมทุนสำคัญ หลังจากที่ภาครัฐได้ขับเคลื่อนการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้ว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องถือว่าประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกน้อยกว่าครั้งที่เกิดวิกฤติในประเทศเมื่อปี 40 แต่เศรษฐกิจโลกเกิดวิกฤติค่อนข้างยาวนาน ทำให้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อไทยได้ เพราะเราก็พึ่งพาการส่งออก จากเดิมการส่งออกเคยเติบโตในอัตรามากกว่า 10% แต่ปัจจุบันการส่งออกติดลบมากกว่า 10%

แม้ว่าภาครัฐจะใช้นโยบบายการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงผลักดันการลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็คต์รวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท แต่ยังไม่ส่งผลเต็มที่ ซึ่งเศรษฐกิจในไตรมาส 2 จึงยังจะไม่ดีมากอย่างที่คาด เพราะมีเรื่องการเมืองวุ่นวายซ้ำเติมมาด้วย ทำให้การผลักดันบทบาทการลงทุนภาคเอกชนมีความสำคัญ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ภาครัฐได้เบิกจ่ายเม็ดเงินจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจไปใช้จ่ายแล้วกว่า 50% หลังจากนี้หน้าที่ของรัฐจะต้องช่วยหลือผู้ทีได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ และขั้นที่ 2 ก็ต้องดูแลสนับสนุนให้ผู้ผลิตมีการลงทุน โดยเฉพาะภาคเอกชน และขั้นที่ 3 รัฐบาลก็จะต้องวางยุทธศาสตร์และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยใหม่ไม่ให้อิงกับเศรษฐกิจโลกมากเกินไป เพราะเมื่อเกิดวิกฤติจะเกิดผลกระทบรุนแรง

โดยภาคส่วนสำคัญที่ต้องการให้รัฐเข้าไปช่วยเหลือคือ สินค้าเกษตร ซึ่งควรมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ เพราะถือว่าประเทศไทยค่อนข้างล้าหลัง และต้องมีการจัดเรื่องที่ดิน และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต หาตลาดรองรับผลผลิตและสร้างระบบขนส่งที่ดี

ขณะที่ในด้านการลงทุนจะต้องได้รับการสนับสนุนและขจัดอุปสรรค ซึ่งรัฐบาลพร้อมจะแก้ไขกฎหมายที่จำเป็นเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อให้เกิดความมั่นใจและส่งเสริมการลงทุนของเอกชนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับการผลักดันโครงการลงทุนที่มีอยู่ เช่น เครือข่ายเทคโนโลยีระบบ 3G และ เหมืองโปแตช ซึ่งมีความล่าช้ากว่ากำหนดมาก โดยรัฐบาลจะไม่เข้าไปลงทุนทำเอง เพราะอาจประสบภาวะเหมือนในอดีต เช่น โครงการอีลิทการ์ด เป็นต้น

รัฐบาลยังพร้อมให้ต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนด้านต่างๆ ในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น การลงทุนในระบบราง ซึ่งรัฐบาลได้เจรจากับทางการจีนเพื่อเชิญชวนให้เข้ามาร่วมพัฒนาและสนับสนุนเมกะโปรเจ็คต์ระบะบราง เนื่องจากเห็นว่าจีนเป็นผู้ชำนาญการและมีการลงทุนระบบรางอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือในส่วนของรัฐบาล

ในด้านกการระดมทุนนั้น รัฐบาลจะสนับสนุนให้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญของภาคเอกชน โดยล่าสุดได้มีการพยายามสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยได้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับบริษัทเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับรัฐวิสาหกิจนั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ไม่สนับสนุนให้มีการนำรัฐวิสาหกิจเข้ากระจายหุ้นโดยตรงในตลาดหลักทรัพย์(แปรรูป) แต่ควรจะปรับปรุงโครงสร้างให้เหมาะสมเพื่อนำกิจการบางส่วนเข้าจดทะเบียน ซึ่งอาจทำให้มูลค่าหุ้นลดลง แต่จะเป็นผลดีและคุ้มค่าต่อประชาชน เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน รถเมล์ รถไฟ ที่ยังประสบปัญหาขาดทุน แต่ระบบสาธารณูปโภคไม่ควรแรรูปเพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชน และเป็นเรื่องยากที่อาจถูกคัดค้าน


Label Cloud