Find Other Sides of Thai Politic. Update you on the political turmoil in Thailand.

อ่าน ทวิตเตอร์

Upcoming

Thursday, September 24, 2009

ทหารประชาธิปไตย ชูอนุสัญญา หลักฐานทวงคืนดินแดนเขาพระวิหาร

Bangkok Biznews Special Report
ทหารประชาธิปไตย ชูอนุสัญญา หลักฐานทวงคืนดินแดนเขาพระวิหาร

ข้อความต่อไปนี้คัดลอกจากอนุสัญญาสันติภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เมื่อ ๕ ก.ค.๒๔๘๔ ซึ่งเผยแพร่โดยกลุ่มทหารประชาธิปไตย โดยเชื่อว่าจะเป็นหลักฐานสำคัญ ยืนยันการครอบครองดินแดนที่มาเป็นข้อพิพาทในปัจจุบัน

อนุสัญญาสันติภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
ลงนาม ณ กรุงโตกิโอ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔

สมเด็จพระราชาธิบดีพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยและประมุขแห่งรัฐฝรั่งเศส
โดยที่ได้สนองรับให้รัฐบาลญี่ปุ่นไกล่เกลี่ย เพื่อยังขัดกันด้วยอาวุธซึ่งได้มีขึ้น ณะ เขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสให้ระงับถึงที่สุด
ยอมรับนับถือว่า จำเป็นดำเนินการปรับปรุงเขตต์แดนปัจจุบันระหว่างประเทศไทย กับอินโดจีนฝรั่งเศส เพื่อป้องกันมิให้มีการขัดกันเกิดขึ้นอีก ณะ เขตต์แดนนั้น และจำเป็นทำความตกลงกันในวิธีการรักษาความสงบในเขตต์แดน
มีความปรารถนาที่จะกลับสถาปนาสัมพันธ์ไมตรี ซึ่งมีสืบเนื่องมาระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศสโดยบริบูรณ์
จึงได้ตกลงทำอนุสัญญาเพื่อการนี้ และได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็มของแต่ละฝ่าย คือ
ฝ่ายสมเด็จพระราชาธิบดีพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงต่างประเทศ
พระยาศรีเสนาอัครราชทูตของสมเด็จพระราชาธิบดีพระมหากษัตรีย์แห่งประเทศไทย ประจำประเทศญี่ปุ่น
นายนาวาอากาศเอก พระศิลป์ศัสตราคม เสนาธิการทหารแห่งประเทศไทย
นายวนิช ปานะนนท์ อธิบดีกรมพาณิชย์
และ ฝ่ายประมุขแห่งฝรั่งเศส
ม.ชาร์ลส์ อาร์แซน - ฮังรี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศญี่ปุ่น
ม.เรอเน โรแบง ผู้สำเร็จราชการอาณานิคมกิตติมศักดิ์
ผู้ซึ่งเมื่อได้ส่งหนังสือมอบอำนาจเต็มให้แก่กันและกัน และตรวจเห็นว่าเป็นไปตามแบบที่ดีและถูกต้องแล้วได้ทำความตกลงกันเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ สัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเป็นอันกลับสถาปนาตามมูลฐานสารัตถสำคัญแห่งสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์ และการเดินเรือ ฉบับวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐)
ฉะนั้น จะได้มีการเจรจากันทางทูตโดยตรง ณะ กรุงเทพฯ โดยเร็วที่สุด เพื่อระงับบันดาปัญหาที่ค้างอยู่เนื่องจากการขัดกันให้เสร็จสิ้นไป

ข้อ ๒ เขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส จะได้ปรับปรุงดังต่อไปนี้
จากเหนือลงมาเขตต์แดนจะได้เป็นไปตามแม่น้ำโขง ตั้งแต่จุดที่รวมแห่งเขตต์แดนประเทศไทย อินโดจีนฝรั่งเศสและพะม่า จนถึงที่จุดแม่น้ำโขงตัดเส้นขนานขีดที่สิบห้า (แผนที่ทบวงการภูมิศาสตร์แห่งอินโดจีน มาตราส่วน 1 ต่อ 500,000 )
ในตอนนี้โดยตลอด เขตต์แดนได้แก่เส้นกลางร่องน้ำเดินเรือที่สำคัญยิ่ง แต่ทว่าเป็นที่ตกลงกันชัดแจ้งว่า เกาะโขงยังคงเป็นอาณาเขตต์อินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนเกาะโขงตกเป็นของประเทศไทย
ต่อจากนั้นไปทางตะวันตก เขตต์แดนจะได้เป็นไปตามเส้นขนานขีดที่สิบห้า แล้วต่อไปทางใต้ จะได้เป็นไปตามเส้นเที่ยงซึ่งผ่านจุดที่พรมแดนปัจจุบันระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึกกมบต)
ในตอนนี้โดยตลอด หากว่ามีกรณีคณะกรรมการปักปันที่บัญญัติไว้ในข้อ ๔ จะได้พยายามประสานเขตต์แดนเข้ากับเส้นธรรมชาติ หรือพรมแดนปกครองที่ใกล้เคียงกับเส้นเขตต์แดนตามที่นิยามไว้ข้างบนนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความยากลำบากในทางปฏิบัติต่อไปเท่าที่จะทำได้
ในทะเลสาบเขตต์แดนได้แก่เส้นโค้ง วงกลมรัศมียี่สิบกิโลเมตร จากจุดพรมแดนปัจจุบันระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ(ปากน้ำสตึงกมบต) ไปบรรจบจุดที่พรมแดนปัจจุบันระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิ์สัตว์จดทะเลสาบ(ปากน้ำสตึงดนตรี)
ตลอดทั่วทะเลสาบ การเดินเรือและการจับสัตว์น้ำเป็นอันเสรีสำหรับคนชาติแห่งอัครภาคีผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่าย แต่ให้คุ้มเกรงเครื่องจับสัตว์น้ำคงที่ซึ่งตั้งอยู่ตามชายฝั่ง เป็นที่เข้าใจกันว่าตามเจตนารมณ์นี้ อัครภาคีผู้ทำสัญญาจะได้จัดทำข้อบังคับร่วมกันว่าด้วยการตำรวจ การเดินเรือ และการจับสัตว์น้ำ ในน่านน้ำทะเลสาบโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้
ต่อจากปากน้ำสตึงดนตรีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เขตต์แดนใหม่จะได้เป็นไปตามพรมแดนปัจจุบัน ระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิ์สัตว์จนถึงจุดที่พรมแดนนี้ประสบกับเขตต์แดนปัจจุบันระหว่าง ประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส(เขากูป) แล้วให้เป็นไปตามเขตต์แดนปัจจุบันนี้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงทะเล

ข้อ ๓ อาณาเขตต์ที่รวมอยู่ระหว่างเขตต์แดนปัจจุบันแห่งประเทศไทยและอินโดจีน ฝรั่งเศสกับเส้นเขตต์แดนใหม่ตามที่นิยามไว้ในข้อ ๒ จะได้มีการถอนตัวออกไป และโอนกันตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพิธีสารภาคผนวกแห่งอนุสัญญานี้ (ภาคผนวก ๑)

ข้อ ๔ การงานปักปันเขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสตามที่นิยามไว้ใน ข้อ ๒ นั้น ให้คณะกรรมการปักปัน ซึ่งจะได้จัดตั้งขึ้นภายในสัปดาห์หลังจากการใช้อนุสัญญานี้เป็นผู้กระทำ ทั้งในส่วนทางบกและส่วนทางน้ำ แห่งเขตต์แดนดังกล่าวแล้ว และให้ดำเนินการงานให้เสร็จภายในระยะเวลาหนึ่งปี
การจัดตั้งและการดำเนินงานแห่งคณะกรรมการดังกล่าวแล้ว มีบัญญัติไว้ในพิธีสารภาคผนวกแห่งอนุสัญญานี้ (ภาคผนวก ๒)

ข้อ ๕ บันดาอาณาเขตต์ที่โอนให้ จะได้รวมเข้าเป็นส่วนแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ :-
๑.ให้ปลอดการทหารโดยตลอด เว้นแต่อาณาเขตต์ชายแดนแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นส่วนแห่งแคว้นลาวของฝรั่งเศสอยู่แต่ก่อน
๒.ในส่วนเกี่ยวกับการเข้ามาการตั้งถิ่นฐาน และบันดาการธุระคนชาติฝรั่งเศส (พลเมืองคนในบังคับและคนในอารักขาฝรั่งเศส) จะได้รับผลประติบัติ ตลอดทั่วอาณาเขตต์ดังกล่าวแล้ว เท่าเทียมกันทีเดียวกับผลประติบัติ ตลอดทั่วอาณาเขตต์ดังกล่าวแล้ว เท่าเทียมกันทีเดียวกับผลการประติบัติที่ให้แก่คนชาติไทย
เป็นที่เข้าใจกันว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับคนชาติฝรั่งเศส สิทธิ์ที่ได้มาเนื่องจากสัมปทานผูกขาด และใบอนุญาต ซึ่งมีอยู่ ณะ วันที่ ๑๑ มีนาคม ค.ศ.๑๙๔๑ จะได้รับความคุ้มเกรงตลอดทั่วอาณาเขตต์ที่โอนให้
๓.รัฐบาลไทยจะอำนวยความคุ้มเกรงเต็มที่ให้แก่บันดาที่บรรจุราชอัฎฐิ ซึ่งมีอยู่ณะฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และจะให้ความสะดวกทุกประการแก่ราชวงศ์หลวงพระบาง และพนักงานราชสำนักในอันจะรักษาและเยายมเยือนที่บรรจุอัฎฐิดังกล่าวแล้ว

ข้อ ๖ ภายในเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพิธีสารภาคผนวกแห่งอนุสัญญานี้ (ภาคผนวก ๓) ให้ใช้หลักต่อไปนี้บังคับแก่เขตต์ปลอดการทหารที่ตั้งขึ้นตามความในอนุ ๑ แห่งข้อก่อนคือ
๑.ในเขตต์ปลอดการทหาร ประเทศไทยจะบำรุงกำลังพลถืออาวุธได้ก็แต่กำลังตำรวจที่จำเป็นสำหรับรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ทว่า ประเทศไทยสงวนสิทธิที่จะเพิ่มกำลังตำรวจขึ้นได้ชั่วคราวเท่าทีจักจำเป็นสำหรับดำเนินการตำรวจพิเศษ และทั้งสงวนอำนาจที่จะกระทำการขนส่งกองทหาร และเครื่องสัมภาระในอาณาเขตต์ของตน ข้ามเขตต์ปลอดการทหารตามที่ต้องการสำหรับดำเนินการตำรวจในเขตต์แขวงใกล้เคียง หรือดำเนินการทหารต่อประเทศภายนอกอนุสัญญานี้
ในที่สุด ในเขตต์ปลอดการทหาร ประเทศไทยจะได้รับอำนาจให้พักอากาศยานมหารที่ไม่มีเครื่องอาวุธได้ทุกเมื่อ
๒.ในเขตต์ปลอดการทหาร ห้ามมิให้มีค่ายมั่น หรือสถานการทหาร หรือสนามบินสำหรับใช้เฉพาะประโยชน์กองทัพ หรือมีคลังเก็บอาวุธหรือกระสุนปืนหรือยุทธภัณฑ์ เว้นแต่คลังเก็บเครื่องสัมภาระที่ใช้อยู่เสมอกับเชื้อเพลิงอันจำเป็นสำหรับอากาศยานทหารที่ไม่มีอาวุธ จึ่งจะมีได้
บันดาสถานที่พักอาศัยของกำลังตำรวจ จะมีองค์กรป้องกันซึ่งโดยปกติจำเป็นสำหรับความมั่นคงแห่งสถานที่นั้นๆ ก็ได้

ข้อ ๗ อัครภาคีผู้ทำสัญญาตกลงกันยกเลิกเขตต์ปลอดการทหารที่มีอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง ในตอนที่ลำแม่น้ำนี้เป็นเขตต์แดนระหว่างประเทศไทยกับแคว้นลาวของฝรั่งเศส

ข้อ ๘ ในขณะที่การโอนอธิปไตยเหนืออาณาเขตต์ ซึ่งโอนให้แก่ประเทศไทยสำเร็จเด็ดขาดลง คนชาติฝรั่งเศสซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในอาณาเขตต์นั้นๆ จะได้สัญชาติไทยทีเดียว แต่ว่าภายในเวลาหนึ่งปีหลังจากการโอนอธิปไตยที่สำเร็จเด็ดขาดลงนั้น คนชาติฝรั่งเศสอาจเลือกเอาสัญชาติได้
การเลือกเช่นว่านี้ ให้กระทำโดนวิธีต่อไปนี้
๑. ส่วนพลเมืองฝรั่งเศส ให้ทำคำแถลงต่อเจ้าหน้าที่ปกครองผู้มีอำนาจ
๒. ส่วนคนในบังคับและคนในอารักขาฝรั่งเศส ให้โอนภูมิลำเนาไปอยู่ในอาณาเขตต์ฝรั่งเศส
ประเทศไทยจะไม่ทำการขัดขวางด้วยประการใดๆ โดยมีเหตุผลประการใดก็ตามต่อการที่คนในบังคับและคนในอารักขาฝรั่งเศสดังกล่าวแล้วจะถอนตัวออกไปนั้น หรือจะกลับเข้ามาหากว่ามีกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่จะออกไปนั้น จะจำหน่ายสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ได้โดยเสรี และจะขนสังหาริมทรัพย์ทุกชนิด ปสุสัตว์ ผลิตผลเกษตรกรรม เงินตราหรือธนาคารบัตร์ของตนไปกับตัว หรือให้ขนส่งไปก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าศุลกากร ถึงอย่างไรก็ดี จะรักษาสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของตนในอาณาเขตต์ที่รวมเข้ากับประเทศไทยไว้ก็ได้

ข้อ ๙ ประเทศไทยและฝรั่งเศสตกลงกันสละเด็ดขาดการเรียกร้องใดๆ ในเรื่องการเงินระหว่างรัฐต่อรัฐ เนื่องจากการโอนอาณาเขตต์ดั่งที่บัญญัติไว้ใน ข้อ ๒ ทั้งนี้โดยประเทศไทยใช้เงินให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนหกล้านเปียสตรอินโดจีน การใช้เงินจำนวนนี้ให้แบ่งใช้เป็นส่วนเท่าๆ กัน มีกำหนดหกปี นับแต่วันใช้อนุสัญญานี้
เพื่อให้การเป็นไปตามความในวรรคก่อน และเพื่อตกลงบันดาปัญหาเรื่องเงินและเรื่องการโอนมูลค่าต่างๆ ซึ่งอาจมีขึ้นเนื่องจากการโอนอาณาเขตต์ตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญานี้ ทบวงการที่มีอำนาจฝ่ายไทยและฝ่ายอินโดจีนฝรั่งเศส จะได้เริ่มเจรจากันโดยเร็วที่สุด

ข้อ ๑๐ การขัดกันใดๆ ซึ่งหากจะเกิดขึ้นระหว่างอัครภาคีผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายในเรื่องการตีความหรือการใช้บทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้ จะได้ทำความตกลงกันด้วยดีโดยทางทูต ถ้าการขัดกันนั้น ทำความตกลงกันเช่นนี้ไม่ได้ ก็จะได้เสนอให้รัฐบาลญี่ปุ่นไกล่เกลี่ย

ข้อ ๑๑ บันดาบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา อนุสัญญา และความตกลงที่มีอยู่ระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้เป็นอันยังคงใช้อยู่ต่อไป

ข้อ ๑๒ อนุสัญญานี้ จะได้รับสัตยาบัน และจะได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันกัน ณะ โตกิโอ ภายในสองเดือนหลังจากวันลงนาม หากว่ามีกรณี รัฐบาลฝรั่งเศสจะใช้หนังสือแจ้งการสัตยาบันแทนสัตยาบันสารก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐบาลฝรั่งเศสจะได้ส่งสัตยาบันสารสัตยาบันกัน ณะ โตกิโอ ภายในสองเดือนหลังจากวันลงนาม หากว่ามีกรณี รัฐบาลฝรั่งเศสจะใช้หนังสือแจ้งการสัตยาบันแทนสัตยาบันสารก็ไไปยังรัฐบาลไทยโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้
อนุสัญญานี้ จะได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันแลกเปลี่ยนสัตยาบันเป็นต้นไป
เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้มีอำนาจเต็มแต่ละฝ่ายได้ลงนามและประทับตราไว้เป็นสำคัญ ทำควบกันเป็นสามฉบับ เป็นภาษาไทย ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ณะ โตกิโอ เมื่อวันที่เก้าเดือนที่ห้าพุทธศักราชสองพันสี่ร้อยแปดสิบสี่ ตรงกับวันที่เก้าพฤษภาคม คริสตศักราชพันเก้าร้อยสี่สิบเอ็ด และวันที่เก้าเดือนที่ห้าปีสโยวาที่สิบหก

(ประทับตรา) วรรณไวทยากร
(ประทับตรา) ศรีเสนา
น.อ.ศิลปศัสตราคม (ประทับตรา)
วนิช ปานะนนท์ (ประทับตรา)
(ประทับตรา) CHARLES ARSENE HENRY
(ประทับตรา) RENE ROBIN



“อภิสิทธิ์”โชว์วิสัยทัศน์ สร้างสังคมประชาธิปไตย'ใหม่

“อภิสิทธิ์”โชว์วิสัยทัศน์ สร้างสังคมประชาธิปไตย'ใหม่ - Suthichaiyoon.com
วานนี้ (22 ก.ย.) เวลา 15.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นที่สหรัฐอเมริกา) ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ หัวข้อว่า “Post-Crisis Thailand : Building a New Democratic Society” สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ประเทศไทยนั้นได้เผชิญกับสองวิกฤติที่เกิดขึ้นพร้อมกัน จากภายในประเทศของเราเองและจากภายนอกประเทศ วิกฤติเศรษฐกิจโลกได้โจมตีประเทศไทยเช่นเดียวกับในอีกหลายประเทศ ซึ่งแท้จริงแล้ววิกฤติที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจาก โลกาภิวัตน์ และกระทบไปยังทั่วโลก เริ่มต้นจากระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างสหรัฐและส่งผลทวีคูณไปทั่วโลก

วิกฤติที่สองที่เราเผชิญ ก่อตัวขึ้นในประเทศของเราเอง นั่นคือ วิกฤติทางการเมือง ที่ถูกพาดหัวข่าวในหลายประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ และในช่วง 9 เดือนที่รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศ เราได้รับความเชื่อมั่นจากมิตรประเทศมากขึ้น และที่มายืนอยู่ที่นี่ได้ ก็เป็นการพิสูจน์ว่าสถานการณ์ในประเทศดีพอและไม่มีอะไรที่น่าห่วงกังวล

ในระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลชุดนี้ได้พิสูจน์ให้ประชาชนชาวไทยเห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ เป็นตัวแทนของคนทุกสี แม้กับคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลและเรียกร้องด้วยการเดินขบวนบนถนน รัฐบาลชุดนี้ยังคงเคารพสิทธิของการชุมนุมและสิทธิเสรีภาพในการเรียกร้อง ในฐานะรัฐบาลจะทำให้ทุกท่านมั่นใจได้ว่า การเคารพสิทธิดังกล่าวจะต้องดำเนินการภายใต้สันติสุขและมีความรับผิดชอบต่อหลักนิติรัฐและต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น

ภาพรวมของประเทศไทยช่วงหลังวิกฤติในปัจจุบัน สถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่เริ่มดีขึ้น มีสัญญาณอย่างน้อย 3 ประการ ที่แสดงว่าเศรษฐกิจโลกและสหรัฐ รวมทั้งในประเทศไทยผ่านจุดต่ำสุด ความมั่นใจเริ่มกลับคืนมาและรัฐบาลต้องเริ่มเตรียมพร้อมสำหรับการกลับคืนสู่ภาวะปกติ เพื่อปรับรูปแบบทิศทางของสังคมโดยรวมเพื่อรับกับรูปแบบในอนาคต

เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก ประเทศไทยอยากที่จะมีประชาธิปไตยที่นำเราไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เราตระหนักดีว่าการไปสู่ประชาธิปไตยที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นยากและใช้เวลายาวนาน มีอุปสรรคจนแทบมองไม่เห็นจุดจบ ประเทศไทยเองผ่านประสบการณ์ทางประชาธิปไตย ตั้งแต่ในปี 2475 ที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบรัฐสภาอย่างเป็นทางการ ที่ผ่านมา ประเทศไทยมี 18 รัฐธรรมนูญ และมีการปฏิวัติรัฐประหารถึง 24 ครั้ง และเรามีถึง 4 รัฐบาล ในระยะเวลา 2 ปี แต่กระนั้นก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า ความเป็นประชาธิปไตยของไทยได้หายไป

ในทางตรงกันข้าม ประชาธิปไตยกลับทำงานอย่างมีชีวิตชีวา เมื่อครั้งที่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาได้กล่าวว่า การเมืองไทยเผ็ดร้อนเช่นเดียวกับอาหารไทย

รูปแบบประชาธิปไตยที่จำเป็นว่าต้องเป็นประชาธิปไตย บนพื้นฐานนิติรัฐ ความรับผิดชอบ และสามารถตรวจสอบได้ เป็นประชาธิปไตยที่เสียงของประชาชนเป็นเสียงสำคัญในทุกกระบวนการตัดสินใจ ไม่ใช่เฉพาะช่วงเลือกตั้ง นอกจากนี้ ต้องเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เพียงแต่เคารพต่อเสียงส่วนใหญ่ แต่เสียงส่วนน้อยจะต้องมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม

แต่ทั้งนี้การจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยเช่นนั้น คือสิ่งท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ในฐานะผู้มีความเชื่อในระบอบประชาธิปไตยอย่างเสรี ในฐานะนักศึกษาเศรษฐศาสตร์และการเมือง จะเสนอแนวความคิดว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะสร้างประเทศไทยสู่สังคมประชาธิปไตยใหม่

หลักการของการนำพาประเทศไทยไปข้างหน้า ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสังคมประชาธิปไตยแบบใหม่ และสามารถปรับใช้ได้ดีกับหลายประเทศที่นิยมประชาธิปไตย

ประการแรก สังคมประชาธิปไตยใหม่ ต้องอยู่บนพื้นฐานประชาชน และความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่มีรัฐบาลไหนในปัจจุบันที่เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม หากไม่ปกครองตามความต้องการของประชาชน ในประเทศไทย อาจได้ยินเกี่ยวกับการแตกแยกทางการเมืองตามสีต่างๆ ซึ่งนับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสีอะไร ไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งรัฐบาลได้ดำเนินการมากว่า 9 เดือน

ประการที่สอง สังคมประชาธิปไตยใหม่ในช่วงการเปลี่ยนแปลง จะต้องให้ความสำคัญกับความสมานฉันท์ การแตกแยกทางการเมือง ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ถ้าปราศจากความสมานฉันท์ การดำเนินนโยบายเพื่อประโยชน์ของประชาชน ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ หากการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ การพัฒนาก็ไม่บรรลุผล แต่การสมานฉันท์ไม่ได้หมายถึงการเบี่ยงเบนกฎหมาย ตรงกันข้าม การบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นธรรมและมีประสิทธิผล จึงจะมีความยุติธรรมและทางออกของการแก้ปัญหาทางการเมือง

เมื่อกล่าวถึงความสมานฉันท์ในประเทศไทย นั้นหมายถึงความสมานฉันท์ในหลายระดับ ความสมานฉันท์ของความแตกต่างระหว่างประชาชนทุกสี ความสมานฉันท์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือแม้แต่ความสมานฉันท์และสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลได้พยายามอย่างที่สุด เพื่อนำสถานการณ์สู่ภาวะปกติ เพื่อความมั่งคั่งและพัฒนาในระยะยาว พร้อมๆ ไปกับการดำเนินนโยบายด้านการศึกษา สังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้เริ่มชนะใจประชาชนในพื้นที่แล้ว ส่วนด้านชายแดนตะวันออก ความตึงเครียดระหว่างไทยและกัมพูชา นั้น สถานการณ์เป็นเพียงเล็กน้อยในภาพรวมของความสัมพันธ์

ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องจะไม่ใช้อารมณ์ และจะไม่ปล่อยให้ประเด็นนี้ประเด็นเดียวบดบังในเรื่องอื่น ความสมานฉันท์ เกิดได้ต่อเมื่อ มีความเข้าใจความท้าทายที่เผชิญอยู่ในทุกด้าน จุดแข็งและจุดอ่อน และข้อจำกัดต่างๆ รวมถึงการพูดคุยและหารือด้วยความจริงใจ

ประการที่สาม สังคมประชาธิปไตยที่เปิดกว้าง กว่า 9 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ริเริ่มแผนการกระตุ้น เศรษฐกิจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เพราะการลงทุนในประเทศไทยจึงไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนใน ตลาดที่มีพลเมืองแค่ 64 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการลงทุนในฐานการส่งออกสู่ภูมิภาค

อาเซียนที่กำลังจะกลายเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ซึ่งมีประชากรประมาณ 600 ล้านคน ระบบเปิดไม่ใช่แค่เพียงรูปแบบทางเศรษฐกิจ แต่ยังหมายถึงทัศนคติและวิถีการดำเนินชีวิตคนไทยเป็นที่รู้จักกันดีในความใจกว้าง โดยได้เปิดรับชาวต่างชาติให้เข้ามาสู่สังคมไทยทั้งในฐานะ ผู้ค้าขาย ที่ปรึกษา นักเผยแผ่ศาสนา ฯลฯ กว่าหลายร้อยปีที่ผ่านมา

ประการที่สี่ การสนับสนุนการบริหารจัดการที่โปร่งใส การบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นปัจจัยสำคัญ ของระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาประเทศ

"สถานการณ์ทางการเมืองที่เรากำลังเผชิญอยู่ แท้จริงแล้วมีสาเหตุมาจากการบริหารงานที่ไม่โปร่งใส ขาดการตรวจสอบ รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน มักอ้างความนิยมที่ได้รับและอาศัยฐานอำนาจนั้นในการหาผลประโยชน์สู่ตนเอง ทั้งที่จริงแล้วประชาธิปไตยไม่ใช่เพียงการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังหมายถึง ความโปร่งใสในการบริหาร"

ประการที่ห้า การสนับสนุนความร่วมมือในระดับภูมิภาค กลุ่มอาเซียนกำลังเติบโตสู่ความเป็นประชาคม โดยได้มีการสร้างความตกลงทางการค้าต่อประเทศต่างๆ เช่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลี อินเดีย และ ญี่ปุ่น โดยอาเซียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนพลังแรงงาน ที่สำคัญของโลก และยังอยู่ใกล้ กับ 2 ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก คือ จีนและอินเดีย ทำให้ได้รับการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนเป็นอย่างดี สิ่งสำคัญที่ยิ่งไปกว่าผลประโยชน์การบูรณาการในระดับภูมิภาค คือ การสร้างการพัฒนาการเมืองในระดับภูมิภาค ซึ่งจะต้องทำให้ประชาชนในระดับรากหญ้าได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง ที่สำคัญ ความร่วมมือในระดับภูมิภาคจะสร้างการทำงานเป็นทีมซึ่งทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม

ประการที่หก แนวนโยบายทางเศรษฐกิจ แนวนโยบายทางเศรษฐกิจจะต้องช่วยแก้ปัญหาและลดช่องว่างรายได้ของประชาชนในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลได้ตระหนักในความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การดำรงชีวิตตามทางสายกลาง ประเทศไทยได้เรียนรู้จากวิกฤติครั้งที่ผ่านมาว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจระบบเปิดขนาดเล็กอย่างไทยไม่สามารถพึ่งพาแต่การส่งออกได้เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างการส่งออกและการนำเข้า

รัฐบาลได้มีแผน กระตุ้นเศรษฐกิจระลอก 2 เพื่อสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ เราจะต้องสร้างการลงทุนขนาดใหญ่ในระยะยาว ทั้งจากการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งสนับสนุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้ง ความร่วมมือระหว่าง 2 ฝ่าย เรายังจะได้ขยายการสนับสนุนเศรษฐกิจ ในเชิงสร้างสรรค์ผ่านนวัตกรรมต่างๆ ของชาวไทย จาก 10 % ไปสู่ 20 % นอกจากนี้ ได้สนับสนุน การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวแบบคาร์บอนต่ำ

ประการที่เจ็ด นวัตกรรมและวิสัยทัศน์ เป็นสิ่งซึ่งจำเป็นในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะวิสัยทัศน์ในการดำเนินนโยบาย ซึ่งประเทศต่างๆ ที่จะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่างต้องการวิสัยทัศน์ในการบริหารปกครอง ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะต้องรับมือกับความท้าทายประจำวัน แต่ยังต้องคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ถึง 5-10 ปีข้างหน้า วิสัยทัศน์ของประชาชนในชาติจะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า

ประการสุดท้าย สิ่งสำคัญของการสร้างประชาธิปไตย คือ การศึกษา โดยสิ่งที่รัฐบาลมีความภาคภูมิใจมากที่สุดในการดำเนินนโยบายในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา คือ นโยบายการให้การศึกษาฟรี 15 ปี การศึกษาจะเป็นสิ่งที่สร้างโอกาสและความเท่าเทียม ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยต้องได้รับการเรียนรู้เพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยต้องให้ ความสำคัญกับการสร้างความปรองดองในความแตกต่างในสังคม การสร้างทัศนคติแบบเปิด และการบริหารจัดการที่โปร่งใส รวมทั้งความร่วมมือในระดับภูมิภาค และการนำแนวนโยบายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มาบริหารจัดการอย่างมีวิสัยทัศน์



ควันหลงจากกรณียกฟ้องคดีกล้ายาง คตส.ซัด"อัยการ"ไม่ทำหน้าที่ทนายแผ่นดิน

ควันหลงจากกรณียกฟ้องคดีกล้ายาง คตส.ซัด"อัยการ"ไม่ทำหน้าที่ทนายแผ่นดิน - Suthichaiyoon.com
คตส.เดือดอัยการหยามหลังแพ้คดีกล้ายาง โต้เป็นทนายแผ่นดินแต่ไม่ทำหน้าที่ เที่ยววุ่นวายสร้างความสับสนในสังคม แฉมีกระบวนการดิสเครดิต หัวโจกกระบวนการยุติธรรมเป็นพยานให้จำเลย “สัก-นาม” มั่นใจคดี “หวยบนดิน” เอาผิดได้แน่ เหตุหลักฐานแน่น "ทักษิณ" เหน็บอดีตรัฐมนตรีย้ายฟากเพื่อรอดพ้นคดี จวกเป็นพวกนายหน้าค้าอำนาจ

อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ประกอบด้วย นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง นายกล้านรงค์ จันทิก นายวิโรจน์ เลาหะพันธุ์ นายแก้วสรร อติโพธิ นายสัก กอแสงเรือง และคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ได้ประชุมหารือกัน หลังจากที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้องคดีทุจริตกล้ายางพารา 90 ล้านต้น โดยที่ประชุมได้หารือถึงกรณีที่โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ออกมาโจมตีการทำงานของ คตส.ที่พ่ายแพ้คดี

นายสัก แถลงภายหลังการหารือว่า สาเหตุต้องแถลง เพราะโฆษกอัยการสูงสุดพาดพิง คตส. โดยมีการวิจารณ์สั่งสอน และหยามการทำงานของ คตส. โดย คตส.ขอชี้แจงว่า การแถลงครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลฎีกา โดย คตส.ยอมรับ และถือเป็นข้อยุติ แต่กลับมีการกระทำของผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์กรหลักในกระบวนการยุติธรรมออกมาวิจารณ์

จึงอยากถามว่า หลังจากศาลพิพากษาแล้ว องค์กรอัยการมีหน้าที่ต้องออกมาชี้แจงหรือไม่ หากไม่มีหน้าที่แล้วออกมาชี้แจง ก็จะให้สังคมไปพิจารณาเอง เพราะทำให้สังคมวุ่นวายและทำให้องค์กรกระบวนการยุติธรรมเสื่อม ซึ่งมีมาแล้วหลายองค์กร ที่มีความเสื่อมมาจากผู้นำ

นายสัก กล่าวว่า ศาลฎีกาฯ ได้พิพากษาว่า คตส.ได้แจ้งข้อกล่าวหาครบถ้วน และมีอำนาจเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถนำพยานในชั้นตรวจสอบมาใช้ในชั้นไต่สวนได้ ส่วนที่อัยการเห็นว่า คตส.ไม่มีอำนาจฟ้องเองจนจำเลยยกมาเป็นข้อต่อสู้ ศาลได้พิพากษาแล้วว่า คตส.มีอำนาจฟ้อง

“การที่บอกว่า คตส.ฟ้องคดีเองทำให้รัฐเสียหาย ต้องเสียค่าทนายความ เนื่องจากอัยการมีหน้าที่ฟ้องคดีแทนแผ่นดิน แต่ไม่ทำหน้าที่ กฎหมายจึงกำหนดให้ คตส.ต้องจัดหาทนายความฟ้องเอง โดยขอให้สภาทนายความ ส่งทนายความฟ้องความให้ จนขณะนี้ยังไม่มีการจ่ายค่าทนายแต่อย่างใด จึงขอถามสังคมว่า ถึงเวลาสมควรแล้วหรือยัง ที่จะมีองค์กรอิสระภาคประชาชน มาทำหน้าที่ในกรณีที่องค์กรของรัฐไม่ทำหน้าที่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน เกาหลี เหมือนสุภาษิตจีนที่ว่า อย่าปล่อยให้คนชั่วลอยนวล” นายสัก กล่าว

คตส.จวกอัยการดิสเครดิต

นายสัก กล่าวว่า การที่อัยการออกมาแถลงว่า จะฟ้องใครต้องมีหลักฐานเพียงพอที่ศาลจะลงโทษได้ ขอถามอัยการว่า ผลที่สุดแล้ว ผลแห่งคดีที่อัยการฟ้อง ไม่มีการยกฟ้องเลยใช่หรือไม่ แต่ปรากฏว่ามีผู้รับผิดชอบระดับสูงของกระบวนการยุติธรรม ไปเบิกความพยานฝ่ายจำเลย ทั้งคดีกล้ายาง และคดีหวย 2 ตัว 3 ตัว และตอบคำถามทนายจำเลยบางประการว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ข้อกฎหมาย มันเป็นเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวพัน ผลจึงออกมาในลักษณะนี้

"ขอยืนยันว่า คตส.ทำหน้าที่เพื่อแผ่นดิน แต่กลับถูกกล่าวหา และฟ้องร้องทั้งคดีแพ่งและอาญา จากฝ่ายผู้ถูกตรวจสอบรวมกว่า 20 คดี แล้วยังต้องมาถูกกล่าวหาซ้ำเติม จากเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมของรัฐบางกลุ่มอีก ดังนั้น เราต้องจับตาดูว่า มีกระบวนการดิสเครดิตการทำงานของ คตส. ผ่านบางกลุ่ม บางพวกในองค์กรกระบวนการยุติธรรม ซึ่งสังเกตได้ว่า กระบวนการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ คตส.ชี้มูลความผิดคดีซีทีเอ็กซ์"

มั่นใจคดี "หวย" เอาผิดได้แน่

นายสัก ยังตั้งข้อสังเกตว่า หลังจากคดีกล้ายางแล้ว ขอให้รอดูคดีหวย 2 ตัว 3 ตัว ในช่วงปลายเดือนก.ย.ว่า ศาลจะตัดสินอย่างไร เพราะจากการวิเคราะห์พบว่า 1.มติ ครม.ที่อนุมัติให้ออกหวยบนดินได้ ผิดกฎหมาย เพราะเป็นสลากกินรวบ ไม่ใช่สลากกินแบ่ง ถือเป็นการพนัน กฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าผิด

2.มติ ครม.ที่อนุมัติให้สำนักงานสลากกินแบ่งฯ ไม่ต้องนำเงินส่งกระทรวงการคลัง 28% ต้องถามว่า ครม.มีอำนาจยกเว้นการไม่นำเงินภาษีส่งคลังหรือไม่ เพราะถือว่า ไม่มีกฎหมายรองรับ และ 3.มติ ครม.ที่สั่งให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการศึกษาและการช่วยเหลือสังคม นำเงินไปใช้ในโครงการเพื่อสังคม ก็ถือว่า ไม่มีกฎหมายรองรับเช่นกัน

นายนาม กล่าวว่า ไม่หนักใจในการที่ศาลจะพิจารณาคดีหวยบนดินในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพราะมั่นใจในหลักฐานของ คตส. แต่การต่อสู้ในข้อกฎหมายย่อมมีทั้งบวกและลบ อะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อศาลตัดสินออกมาอย่างไร คตส.ก็พร้อมรับ แต่จะเห็นด้วยหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง และเชื่อว่าคดีนี้ไม่มีเหตุผลทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ขึ้นกับดุลยพินิจของศาลในการปกป้องประโยชน์ของแผ่นดิน

"แก้วสรร" ซัดโฆษกอัยการ "พูดไม่สวย"

นายแก้วสรร กล่าวเสริมว่า คตส.คงไม่ไปฟ้องร้องโฆษกอัยการสูงสุด ที่ออกมาพาดพิงการทำงานของ คตส. แต่การพูดในลักษณะเช่นนี้ มันไม่สวย เพราะจะมีผลกระทบกับอีกหลายคดีที่รอการพิพากษาในชั้นศาล และใน ป.ป.ช.ซึ่งแต่ละคดีจะมีความแน่นและหนักเบาไม่เหมือนกัน ดังนั้น การพูดจึงไม่ควรมาก้าวล่วง คตส.เช่นกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่โฆษกอัยการสูงสุดออกมาพูดอย่างนี้มีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่ เพราะมีผู้บริหารสูงสุดของอัยการสูงสุด (อสส.) ตกเป็นจำเลยในคดีการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์หรือไม่ นายแก้วสรร ตอบว่า คตส.ไม่บังอาจไปคิดก้าวล่วงอย่างนั้น เพราะยังมีเรื่องในชั้นศาลอีกหลายคดี ไม่อยากไปละเมิดศาล

เมื่อถามว่า สาเหตุที่ คตส.แพ้คดีกล้ายาง เพราะมี คตส.บางคน ไปเป็นพยานฝ่ายจำเลยหรือไม่ นายแก้วสรร กล่าวว่า เขาเป็นคนที่ทนายจำเลย คณะกรรมการนโยบายพัฒนาและช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) อ้างอิงให้เป็นพยาน ซึ่งเขาเป็นเสียงส่วนน้อยใน คตส. ที่เห็นว่า คชก.ไม่มีความผิด เพราะเป็นการอนุมัติงบตามอำนาจหน้าที่ ดังนั้นที่เขาต้องไปให้ปากคำ เพราะทำตามอำนาจศาลในการเรียกพยาน

"ทักษิณ" เหน็บอดีต รมต.ย้ายฟากเพื่อรอดคดี

เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เขียนข้อความลงบนเว็บไซต์ twitter.com ใน Thaksinlive ถึงการตัดสินคดีกล้ายาง ที่ศาลฎีกาฯ ยกฟ้องจำเลยทั้ง 44 คน โดยมีใจความว่า "จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ผมรู้สึกเห็นใจและขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่ออดีตรัฐมนตรีที่ยังมั่นคงอยู่กับผมแต่โดนคดี ผมไม่ขัดข้องและไม่โกรธเลยถ้าท่านจะย้ายข้ามฟากเพื่อความรอดพ้น เพราะท่านมีครอบครัวต้องรับผิดชอบ

พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอีกว่า แต่ข้ามฟากอย่างเดียวไม่พอ ท่านต้องเนียนด้วยการคลอเคลียใส่ความผมเยอะๆ และลืมไม่ได้ ต้องกล่าวทับถมระบอบทักษิณ ที่ครั้งหนึ่งท่านเคยว่าคนที่ว่าเรามาก่อน และข้อกล่าวหาที่ได้ผลชัด คือ ล้มล้างสถาบัน ทั้งๆ ที่ท่านรู้ดีว่าผมเทิดทูนสูง เพราะท่านก็เคยร่วมกับผมทำงานถวายอย่างมีความสุขมาหลายปีหลายงาน และเราก็เคยพูดกันใน ครม. ถ้าท่านทำได้ครบก็จะมีคนยกหูช่วยท่านให้หลุดพ้น

ผมขอให้โชคดีและพ้นคดีกันทุกคนนะครับ ถ้าเนียนจริงก็จะได้เป็นนายหน้าค้าอำนาจ ไม่ต้องห่วงผม ชีวิตผมต้องช่วยตัวเองครับ เกิดปีวัวกลางวันก็หนักหน่อย ผมใช้ชีวิตอยู่ต่างแดนก็สบายดีครับ ถึงแม้จะเหงาหน่อยแต่ก็จิตสงบดี เพราะไม่ได้ฟังเรื่องไร้สาระรายวัน คนที่นี่เขาใช้เวลาทำมาหากินอย่างมีกติกาครับ"

"พัชรวาท" ร้องศาล ปค.ล้มมติ ป.ป.ช.

นายสมบูรณ์ บุญญาภิรมย์ ทนายความที่รับมอบอำนาจจาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทั้งคณะ กรณีที่มีมติชี้มูลความผิด พล.ต.อ.พัชรวาท กระทำความผิดวินัยร้ายแรง ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และมีความผิดอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ในการสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2551

โดยขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยและชี้มูล และมติรับรองคำวินิจฉัยดังกล่าว พร้อมทั้งเรียกร้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชดใช้ค่าเสียหาย ทดแทนความเสียหายที่เกิดแก่สิทธิ และเกียรติยศชื่อเสียง เป็นเงิน 50 ล้านบาท รวมทั้งขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวด้วย


Label Cloud