Find Other Sides of Thai Politic. Update you on the political turmoil in Thailand.

อ่าน ทวิตเตอร์

Upcoming

Monday, November 9, 2009

"ฮุนเซน"ห้าวไม่เลิกเตรียมเชิญ"แม้ว" เข้าเขมร ประชุมช่วยศก.12พ.ย.

Matichon Online: หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ : หนังสือพิมพ์คุณภาพ เพื่อคุณภาพของประเทศ
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนว่า ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวระหว่างแถลงข่าวที่สนามบินนานาชาติในกรุงพนมเปญว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางไปถึงกัมพูชาในสัปดาห์นี้เพื่อปฎิบัติภารกิจเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา "ทักษิณจะเดินทางถึงกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังในวันที่ 12 พฤศจิกายนและจะมีการสรุปด้านเศรษฐกิจให้ฟังผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของกระทรวงราว 300 คนรับฟัง" ฮุน เซน กล่าว

ไม่กลัวคำขู่ท้าไทยปิดชายแดน

สำหรับเรื่องที่รัฐมนตรีไทยขู่ว่าจะปิดชายแดนนั้น ฮุน เซน กล่าวว่า "หากไทยต้องการปิดก็ปิดไปเลย ผลเสียจะเกิดขึ้นกับทั้ง 2 ฝ่าย หากไทยจะปิดชายแดน เราก็จะสั่งปิดเช่นกัน ซึ่งหากมีการสั่งปิดจริง การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยก็จะปิดตัวลง กรุณาปล่อยให้ทักษิณ มาแบ่งเบาภาระในการเพิ่มพูนเศรษฐกิจของกัมพูชา" ฮุน เซน กล่าว

นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวว่า สถานการณ์ตามแนวชายแดนขณะนี้สงบลง จึงได้สั่งการให้ทหารพลร่ม 911 ถอนออกจากพื้นที่เขาพระวิหาร ภายหลังส่งเข้าประจำการเมื่อปีที่ผ่านมา และการถอนทหารจะเสร็จสิ้นลงภายในสัปดาห์นี้ แต่ไม่มีการเปิดเผยถึงจำนวนทหารที่จะถอนตัวครั้งนี้

เอเอฟพีระบุว่า ก่อนหน้านี้ ไทยได้เรียกทูตกัมพูชากลับประเทศ เพื่อแสดงการประท้วงตอบโต้ ต่อกรณีผู้นำกัมพูชาได้แต่งตั้งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ขณะที่ผู้นำกัมพูชายังประกาศว่า เขาจะถอนหน่วยทหารรบพิเศษออกจากพื้นที่ขัดแย้งเขาพระวิหาร ซึ่งมีทหารไทยและกัมพูชา ตรึงพื้นที่ นับตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเกิดเหตุการณ์ปะทะนองเลือดระหว่างทั้งสองฝ่าย


นายกฯปลุกคนไทย ป้องศักดิ์ศรี

โพสต์ ทูเดย์ - Breaking News - นายกฯปลุกคนไทย ป้องศักดิ์ศรี
นายกฯย้ำปมขัดแย้งเขมรเกิดหลังจิ๋วพบฮุนเซนตั้งแม้วที่ปรึกษาและวิจารณ์ศาลไทย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ในขณะนี้ว่า ปัญหาเกิดขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน โดยอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยท่านหนึ่งเดินทางไปพบ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา และการแต่งตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของสมเด็จฮุนเซน และที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีการพาดพิงวิพากษ์วิจารณ์การเืมืองไทย และกระบวนการยุติธรรมของไทย เป็นสิ่งที่คนไทยถือว่า เรื่องนี้ยอมรับไม่ได้ เราต้องยืนยันศักดิ์ศรีของสถาบันยุติธรรม ของประเทศ

อย่างไรก็ตาม เห็นว่า กัมพูชาอาจได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะจะเห็นว่าที่ผ่านมา การตัดสินของศาลในหลายกรณีได้ลงโทษไปตามกฏหมาย และข้อเท็จจริง แม้แต่อดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ใช้กระบวนการยุติธรรมของศาลไทย ในการฟ้องร้องกับผู้ที่พาดพิงให้ตนได้รับความเสียหาย

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกฯ เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ย่อมมีผลกระทบโดยตรงในการเจรจา เพราะในบางข้อตกลง มีผลประโยชน์ต่อเนื่องกันมา ตั้งแต่ในสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ แต่วันดีคืนดีกลับไปเป็นที่ปรึกษาของอีกฝ่าย ดังนั้น เราจำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนทางการทูต ลดระดับความสัมพันธ์ การเรียกเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศซึ่งเป็นหลักปฎิบัติกันมาเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นการรักษาศักดิ์ศรีของคนไทย ซึ่งต้องเป็นไปด้วยความสุขุม รอบคอบ ระมัดระวัง ดังนี้

ข้อแรก ต้องการไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกันตามแนวชายแดน ต้องแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ไม่มีเหตุผลใดให้เกิดความรุนแรง การค้าขายต้องยังเป็นไปตามปกติ

ข้อสอง ต้องดูแลคนไทยในประเทศกัมพูชา โดยก่อนที่เอกอัครราชทูตจะเดินทางกลับ ได้พบปะกับคนไทยและนักธุรกิจไทยในกัมพูชา เพื่อให้คำแนะนำเราต้องดูแลผลประโยชน์ ไม่ให้มีอะไรที่ไปกระทบกระเทือน คนไทยที่เดินทางไปเล่นการพนันก็ต้องให้หยุดจนกว่าความสัมพันธ์จะเป็นปกติ

และประการสุดท้าย ต้องไม่กระทบกรอบการเจรจา และความร่วมมือกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เรามีหน้าที่ทำให้กรอบความร่วมมือเดินหน้าต่อไป เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ความจริงใจ และความเคารพ ซึ่งกัน และกัน ซึ่งมีเขียนลงไปในปฎิญญาการประชุมกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงที่ประเทศญี่ปุ่น และในสัปดาห์มีการประชุมระหว่างอาเซียนกับสหรัฐจะต้องไม่มีปัญหาอันเกิดจากข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา

ตอนท้ายของรายการในช่วงแรก นายกฯยังชวนคนไทยร่วมกันแสดงจุดยืน เพื่อแสดงให้เห็นว่าไืทยต้องการเป็น เพื่อนบ้านที่ดี ร่วมกันแสดงออกถึงความจริงใจ แต่ก็ไม่ต้องการให้ไทยเสียเปรียบ หรือถูกลดความน่าเชื่อถือ และร่วมกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทย

"ปัญหาใดๆ ก็ตามไม่ควรหยินบยกขึ้นมาบดบังภาพรวมของความสัมพันธ์ ท่านนายกฯฮุนเซน พูดมาตลอดว่าควรมองไปในอนาคต และในการพูดคุยส่วนใหญ่ท่านจะหยิบเรื่องทักษิณมาคุยก่อนว่า จะไม่ให้ความเป็นเพื่อนอยู่เหนือความสัมพันธ์ที่ดีของสองประเทศ ทุกอย่างกลับเข้าสู่การเจรจา การดำเเนินนโยบายต่างประเทศ ต้องจริงใจ เคารพซึ่งกัน และกัน" นายกฯ กล่าวตอนหนึ่งในการจัดรายการวันนี้


เตชชี้ ไทยทำถูกโต้เขมร

โพสต์ ทูเดย์ - Breaking News - เตชชี้ไทยทำถูกโต้เขมร
เตชชี้ ไทยเรียกทูตกลับทำถูกต้องแล้ว ชี้ไทยเลิกMOUเขมรกระทบไม่มาก

นายเตช บุนนาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าว่า กรณีรัฐบาลไทยเรียกเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงพนมเปญ กลับ หลังเกิดข้อขัดแย้งกับกัมพูชาว่า ถือว่าทำถูกต้องแล้ว ส่วนมาตรการยกเลิก MOU พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารหน้า (10พ.ย.) ส่วนตัวมองว่า หากยกเลิกจริงก็จะได้รับผลกระทบทั้ง 2 ฝ่าย แต่คงจะไม่มากเพราะทรัพยากรก็ยังคงอยู่ที่เดิมไม่สูญหายไปไหน เพียงแต่ไม่ได้นำออกมาใช้เท่านั้น

พร้อมกันนี้ ยังได้เสนอทางออกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยว่ารัฐบาลควรหารือให้เกิดความเอกภาพก่อนที่จะไปหารือกับกัมพูชา เพราะขณะนี้ตนมองว่าสถานการณ์การเมืองของไทยก็ยังไม่เป็นเอกภาพจะไปแก้ปัญหาระดับชาติได้อย่างไร ส่วนกรณีที่เลขาธิการอาเซียนออกมาเรียกร้องให้ รมต.ต่างประเทศ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ออกมาช่วยเหลือในเรื่องนี้นั้นตนไม่ทราบว่าจะสามารถช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่

บริเวณสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย เหตุการณ์ยังคงปกติ ไม่มีความวุ่นวายใดๆ เกิดขึ้น การจราจรบริเวณถนนประชาอุทิศ หน้าสถานทูตกัมพูชา ยังสามารถเคลื่อนตัวได้ดีได้จัดตำรวจรักษาความปลอดภัยบริเวณรอบๆ สถานทูตกัมพูชาจำนวน 150 นาย และเตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 และตำรวจสันติบาล พร้อมในที่ตั้ง ขณะเดียวกันได้เตรียมเจ้าหน้าที่อีก 150 นาย พร้อมสนับสนุน กรณีมีมือที่ 3 สร้างสถานการณ์ ขณะนี้ภายในสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย มีเพียงแม่บ้านเหลืออยู่เท่านั้น

"เตช"ชี้ปัญหาชายแดนแก้ยากขึ้น หลังไทยตอบโต้กัมพูชาตั้ง"ทักษิณ"









Reblog this post [with Zemanta]

กษิตยกเลิกMOUพื้นที่ทับซ้อน-ชงครม.10พย.

INN online
"กษิต ภิรมย์" แถลงยกเลิกบันทึกความเข้าใจ ไทย-กัมพูชา เรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โฟนอิน แถลงยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน บริเวณอ่าวไทย ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2544 ที่กระทำขึ้นในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเห็นว่า การที่รัฐบาลกัมพูชาตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจา เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการผลักดันเรื่องดังกล่าว และรับรู้ท่าทีในการเจรจาของฝ่ายไทย ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่อาจเจรจากับฝ่ายกัมพูชาบนพื้นฐานของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวได้ ขณะที่การเจรจาภายใต้กรอบดังกล่าว ในช่วงระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมาไม่มีผลความคืบหน้าเป็นรูปธรรมตามวัตถุประสงค์ กระทรวงการต่างประเทศ จึงเห็นควรให้ใช้แนวทางการเจรจาอื่นตามหลักของกฎหมายระหว่างประเทศแทน

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังระบุด้วยว่า จะเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 พฤศจิกายน เพื่อพิจารณายกเลิก และแจ้งให้ทางการกัมพูชาทราบต่อไป


Label Cloud